วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำตอบของสิ่งเเวดล้อม

คำตอบ   ตัวศิลปกรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ได้สร้างหรือกำหนดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันด้วยความสามารถสติปัญญากำลังกายกำลังใจ และได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าในทางศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาตร์ โบราณคดี  และเทคโนโลยี ศิลปกรรม ได้แก่  พระราชวัง วัง  วัด  ศาสนสถาน  ศาล  อนุสาวรีย์  ป้อม  คูเมือง  กำแพงเมือง  อาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม  คลอง  สะพาน  ท่าน้ำ  และแหล่งชุมชนโบราณ


แหล่งศิลปกรรม  หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณพื้นที่ที่ประกอบด้วยอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้นในแต่ละยุคสมัย จำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะลักษณะที่ ๑  คือ  แหล่งศิลปกรรมที่ยังใช้งาน เช่น วัด (โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียน)  สถานที่ราชการ (เก่า)  อาคารพาณิชย์ (เก่า)  บ้านเรือน (เก่า)  ย่านวัฒนธรรม (ชุมชนและตลาดเก่า)ลักษณะที่  ๒คือ แหล่งศิลปกรรมที่ไม่ได้ใช้งาน (ตามหน้าที่เดิม) แล้ว เช่น วัดร้าง  แหล่งประวัติศาสตร์ แหล่งชุมชนโบราณ และแหล่งโบราณคดีแหล่งศิลปกรรมที่กล่าวถึงทั้ง ๒ ลักษณะ  นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีความงดงามทางด้านศิลป สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ปฎิมากรรม ยังมีองค์ประกอบที่อยู่โดยรอบหรือสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอยู่ในตัวเอง ที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมความงามของศิลปกรรมนั้นให้เด่นชัดยิ่งขึ้น  สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม  หมายถึง สรรพสิ่งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบแหล่งศิลปกรรม เป็นองค์ประกอบและ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม    ต่อแหล่งศิลปกรรมนั้น ๆ   แนวความคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เกิดจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งมีแหล่งศิลปกรรมอยู่มากมาย แต่ความสำคัญของแหล่งศิลปกรรมกำลังถูกมองข้ามเพราะประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องความสำคัญ ประโยชน์ และคุณค่าของแหล่งศิลปกรรมนั้นๆ จึงเกิดการทำลาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แหล่งศิลปกรรมจึงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและมีสภาพเสื่อมโทรม มีผลทำให้หมดคุณค่า และหมดความสง่างาม เช่น มีสิ่งปลูกสร้างที่มีความสูง อยู่ในบริเวณโดยรอบที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากขาดการควบคุม การใช้ที่ดินและอาคารโดยรอบ หรือภายในบริเวณแหล่งศิลปกรรม การสร้างที่จอดรถ สารโทรคมนาคม อาคารพาณิชย์อยู่ใกล้เคียงประชิดแหล่งศิลปกรรมหรือ มีโครงการพัฒนาต่างๆ ถนน สะพาน เขื่อน ฝาย ประชิดรุกล้ำในแหล่งศิลปกรรม ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาที่นำไปสู่ความเสื่อมคุณค่าของแหล่งศิลปกรรม ปัจจุบันเป็นปัญหาที่เกินกำลัง และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรับผิดชอบเพียงหน่วยงานเดียวที่จะดูแล เรื่องการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ คือ กรมศิลปากร จึงอาจกล่าวได้ว่า การที่แหล่งศิลปกรรมหรือแหล่งมรดกทางวัฒนะรรมเสื่อมโทรม นั้นมีสาเหตุ มาจากสิ่งแวดล้อม ที่อยู่โดยรอบ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานอนุรักษ์แหล่งศิลปกรรมหรือมรดกทางวัฒนธรรมของชาติประสบผลสำเร็จ จึงต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบแหล่งศิลปกรรมนั่นเอง ปัจจุบันความเสื่อมโทรมและความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่อยู่แหล่งศิลปกรรมกำลังเป็นที่น่าวิตก โดยเฉพาะสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและมีส่วนทำลาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาหรือเพื่อกิจกรรมอื่นในท้องถิ่นนั้นๆ ตลอดจนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทั้งนี้สาเหตุ มาจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการรุกล้ำพื้นที่ของแหล่งศิลปกรรมเพื่อธุรกิจ การค้าโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้กับแหล่งศิลปกรรมบางแหล่งมีการก่อสร้างสิ่งใหม่ซึ่งไม่มีคุณค่าทางศิลปประชิดบดบังโบราณสถาน นับเป็นการทำลายคุณค่าความสง่างาม บางครั้ง มีการเปลี่ยนแปลง ค่านิยมและรูปแบบ เพราะคิดว่า เก่า เป็นเรื่องของความล้าสมัย บางที่ มีร่องรอยเหลือ ให้เห็นเพียงส่วนน้อย อันเนื่องมาจากการรื้อถอน ทิ้งร้าง เมื่อตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ก็ทำให้ไม่มีผู้เห็นความสำคัญ บ้างก็ใช้พื้นที่โบราณสถานส่วนที่เหลือเป็นที่ตั้งกิจกรรมทางการค้า เป็นลานจอดรถ บางแห่งทำลายโดยการขีดเขียนข้อความที่ไม่เหมาะสมตามอาคารหรือกำแพงโบราณ บางแห่งก็มีการรื้อทำลายโดยนำอิฐหรือวัสดุบางส่วนจากซากปรักหักพังของโบราณสถาน ไปเพื่อประโยชน์ใช้สอยส่วนตัวหรือเพื่อการค้า และบางแห่งเป็นที่เลี้ยงสัตว์ ทั้งขยะของเหลือใช้ หากปล่อยให้สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นอีกต่อไปจะมีผลทำให้ตัวศิลปกรรมเสียหาย มีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมและหมดสภาพไปในที่สุดแม้ว่าการพัฒนาจะช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าก็ตาม แต่การพัฒนาควรมีการวางแผนและป้องกัน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมด้วย มิฉะนั้นการพัฒนาจะเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมของแหล่งศิลปกรรมของชาติ ปรากฏการณ์เช่นนี้ มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต อาทิ การตัดถนน ผ่านกลางกำแพงเมืองโบราณหลายเมือง และวัดที่สำคัญอีกหลายวัด เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เป็นต้น และในที่สุดรัฐ ต้องเสียเงินงบประมาณจำนวนมากมหาศาลในการย้ายแนวถนนให้อ้อมเมืองโบราณเหล่านั้น รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟู มรดกอันมีค่าเหล่านี้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมให้กลับมีสภาพสมบูรณ์
                        นอกจากนี้ภาวะมลพิษนับเป็นสิ่งที่มีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบและ ในแหล่งศิลปกรรมต่างๆ เช่น แรงสั่นสะเทือนและฝุ่นควันจากยวดยานพาหนะต่างๆ ที่สัญจรไปมาบนถนน      ที่ตัดผ่านแหล่งศิลปกรรม การระเบิดหิน ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งของแหล่งศิลปกรรม มีฝุ่น             และละออง จากสารเคมี บางประเภท ที่สามารถทำลายส่วนประกอบ ของอาคารโบราณสถาน และ ทำลายภูมิทัศน์ที่อยู่ในบริเวณโดยรอบ  เนื่องจากอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม ที่สร้างขึ้นมาโดยขาดการควบคุมการใช้ที่ดินที่เหมาะสม การตั้งร้านค้าแผงลอย ซึ่งมีการทิ้งขยะ การระบายน้ำทิ้งในบริเวณโดยรอบทำให้น้ำเน่า น้ำเสีย          ในบริเวณแหล่งศิลปกรรม  ทัศนอุจาดที่เกิดจากการติดป้ายโฆษณา สายไฟฟ้า เสาวิทยุโทรทัศน์ เป็นมลพิษทางสายตา และเป็นการทำลายคุณค่าของแหล่งศิลปกรรมทางอ้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น