วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

สิ่งมีชีวิตกับสิ่งเเวดล้อม

1. สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม




ระบบนิเวศ (Ecosystem)
สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างหลากหลาย เช่น บางบริเวณมีแม่น้ำ ลำธาร คลอง ชายทะเล ป่าชายเลน และที่ราบ เป็นต้น มักพบสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิดอาศัย อยู่ร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่า กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community)
ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ใน บริเวณเดียวกัน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งมีชีวิต และแหล่งที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจัดเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่ เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ใน ทุก ๆ ระบบนิเวศ นั่นคือความสัมพันธ์ ที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดดำรง ชีวิตอยู่รอดได้
สิ่งมีชีวิต และ สิ่งไม่มีชีวิตในโลก เริ่มต้นมาจากสารที่เล็กที่สุด คือ อะตอม(atom) หลาย ๆ อะตอม ทำปฏิกิริยาเคมีกัน หรือมีแรง ยึด ระหว่างอะตอม กลายเป็น โมเลกุล(molecule) โมเลกุลของสาร ต่างๆ รวมกันเป็นสารชีวโมเลกุลเซลล์ หรือ ออร์แกเนลล์(organelle) ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ร่วมกันทำงาน และประกอบกันเป็น เซลล์(cell)
ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาจ มีเพียงเซลล์เดียว ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มี มากกว่า เซลล์เดียวนั้น เซลล์ชนิดเดียวกันหลาย ๆ เซลล์ ทำหน้าที่ ร่วมกันเรียกว่า เนื้อเยื่อ(tissue) เช่น เนื้อเยื่อกระดูก เนื้อเยื่อหลายชนิดร่วมกันทำหน้าที่ กลายเป็น อวัยวะ(organ) เช่น กระดูก อวัยวะชนิดเดียวกัน หลายๆ อัน ร่วมกันทำหน้าที่ เรี่ยกว่า ระบบอวัยวะ เช่น ระบบโครงกระดูก หลายๆ ระบบร่วมกันทำงาน กลายเป็นสิ่งมีชีวิต(organism) เช่น แมว สุนัข วัว ควาย ไก่ เก้ง ปู
สิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวกันอยู่ร่วมกันกลายเป็น ครอบครัว (family) หลาย ๆ ครอบครัวอยู่รวมกันในบริเวณ หนึ่ง กลายเป็น ประชากร(population) การดำรงชีวิของสิ่งมีชีวิต การดำรงชีวิตชนิดเดียวกัน จะต้อง มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น ต้องมีอาหาร มีที่อยู่อาศัย เป็นต้น
จึงต้องเกิด กลุ่มสิ่งมีชีวิต(community) ขึ้นเมื่อรวมกลุ่มสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตในบริเวณนั้น เข้าด้วยกันหลายเป็น ระบบนิเวศ (ecosystem)

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

การพัฒนาสิ่งเเวดล้อมที่ยั่งยืน

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
                            ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  เนื่องจาก
จำนวนประชากรมนุษย์ในโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว
 
ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ
  ตามมา  
แต่การพัฒนาของ
ประเทศต่าง ๆ
  
ทั่วโลกที่ผ่านมาเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มุ่งการเจริญเติบโตของภาค
อุตสาหกรรม
  และการส่งเสริมการบริโภคของประชากรภายในประเทศให้สูงขึ้น  การพัฒนาดังกล่าวจึงเป็นการเร่งรัดให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว   จนกระทั่งทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวมเร็วมากเกินกว่าระดับการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ  จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นภายในประเทศของตน  ด้วยเหตุนี้ทุกประเทศในโลกจึงหันมาให้ความสนใจที่จะช่วยกันและร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว  ซึ่งกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่าง      ให้ความสนใจมากที่สุดในปัจจุบัน  คือ  การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  (Environment  sustainable  development 
 สำหรับประเทศไทยได้เริ่มให้ความสนใจในแนวคิด เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตั้งแต่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  7  (พ.ศ. 2535 - 2539)    โดยเน้นการพัฒนาชนบทให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและเน้นการกระจายรายได้     ควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
องค์ประกอบของสังคมที่การพัฒนาที่ยั่งยืน
      
1.   ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ทรัพยากร  เช่น  ปริมาณแหล่งน้ำและความเพียงพอของน้ำใช้ในปัจจุบัน  การใช้พลังงานทดแทนอย่างอื่น  ทั้งจากธรรมชาติและจากการประดิษฐ์ขึ้น  ได้แก่ พลังงานน้ำ  พลังงานลม  พลังงานความร้อนใต้พิภพ  พลังงานแก๊สชีวภาพ  และพลังงานแสงอาทิตย์  และมีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
2.   เศรษฐกิจที่มั่นคงของชุมชน  คือ  มีการพัฒนาที่ทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจดีอย่างต่อเนื่องและควบวงจร
3.   คุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชน  เช่น  มีการอยู่ดีกินดี  อยู่ในที่ที่มีอากาศดี  ปราศจากมลภาวะ  มีการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างถูกต้องตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่  มีบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง มีการให้การศึกษาอย่างต่อเนื่อง  เป็นต้น
หลักการการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
 
หลักการที่นำไปสู่ความยั่งยืน      สรุปได้  3  ประการ  ดังนี้ 
1.   รักษาและกระตุ้นให้เกิดความหลากหลาย  การพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนมีหลายแนวทางทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง  มนุษย์จึงควรรักษาและกระตุ้นให้เกิดความหลากหลายโดยไม่ผูกขาดเฉพาะรูปแบบที่ถูกต้องที่สุดหรือสมบูรณ์ที่สุดของวัฒนธรรม  จริยธรรม  ศาสนา  และสังคม  เพียงแนวทางใดทางหนึ่งเท่านั้น
2.   ดำเนินการพัฒนาหรือสร้างระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาสิ่งแวดล้อมและเวลาในอนาคตเข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจ
3.   ต้องแสวงหาแนวทางที่เห็นร่วมกันบนพื้นฐานของสิ่งแวดล้อม  สังคม  วัฒนธรรม  และศีลธรรม  ที่มีความหลากหลาย
แนวทางการปฏิบัติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
 
แนวทางในการปฏิบัติที่จะไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  มีดังนี้
        
            1.  การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ควรดำเนินการดังนี้
                        1.1  การอนุรักษ์สสารและวงจรการหมุนเวียน  ซึ่งเป็นความสามารถในการฟื้นตัวของธรรมชาติ
                        1.2  จำกัดการปล่อยของเสีย  เพื่อรักษาความสามารถของธรรมชาติในการจัดการกับของเสีย
                        1.3  รักษาความหลากหลายของระบบนิเวศแบบต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์กันบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง  เพื่อควบคุมความสามารถในการสร้างผลผลิตของธรรมชาติไว้
            2.  การใช้ทรัพยากรอย่างมีอย่างประสิทธิภาพ  ควรดำเนินการดังนี้
            
            2.1  ทำให้เกิดความยุติธรรม  โดยอาศัยหลักการว่า  ใครทำคนนั้นต้องจ่าย
                        2.2  ให้การชดเชยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากผู้ที่ก่อนให้เกิดปัญหา
                        2.3  มีมาตรการชดเชยแก่การผลิตที่สร้างผลดีต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจมีกำไรน้อยในระบบธุรกิจ
                        2.4  กระจายสิทธิและรับรองสิทธิในการใช้ทรัพยากรให้แก่กลุ่มคนในสังคมอย่างเสมอภาค
                        2.5  ให้ความคุ้มครองทรัพยากรไปพร้อมๆ  กับการรักษาสิ่งแวดล้อม
                        2.6  ต้องควบคุมอย่าให้สังคมต้องจ่ายค่าชดเชยเพื่อปกปิดปัญหานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม
                        2.7  ดำเนินการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในทางเทคนิค
                        2.8  ส่งเสริมและกระตุ้นการหมุนเวียนผลผลิตที่เลิกใช้แล้ว  และหาวิธีการยืดอายุผลิตภัณฑ์
            3.  การหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของกลไกรัฐที่เกี่ยวข้อง  โดยการปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้
          
              3.1  ใช้กลไกการตลาดตามระบบปกติ
                        3.2  ส่งเสริมเจตคติที่ดีของสังคมต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
                        3.3  ยึดหลักความยุติธรรมในสังคม  ถ้าใครต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  จะต้องยอมจ่ายเงินตามมูลค่าที่เป็นจริงของทรัพยากรนั้น  ๆ  ไม่ใช่ระบบผูกขาด
                        3.4  ถ้านโยบายของรัฐใด ๆ  ที่จะมีผลกระทบต่อกลุ่มชนต่าง ๆ  ในสังคม  รัฐจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกนโยบายเกื้อหนุนกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคมนั้น  ๆ  เพราะกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสและยากจนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว
                        3.5  รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเมือง
          
           4.  การรักษาทางเลือกสำหรับอนาคต  โดยวิธีการดังนี้
          
              4.1  หลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดล้อม
                        4.2  เมื่อมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือเทคนิคที่อาจจะมีผลกระทบ  ให้เลือกการตัดสินใจในทางที่รอบคอบ   โดยยึดหลักการปลอดภัยไว้ก่อนว่า  ถ้ามีความไม่แน่ใจก็ให้ระงับโครงการนั้น  ๆ  ไว้จนกว่าจะได้ข้อมูลที่เพียงพอ
                        4.3  เพิ่มความหลากหลายทางนิเวศวิทยา  เศรษฐกิจ  และสังคม  เนื่องจากความหลากหลายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการปรับตัวให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  ที่อาจจะมี
                        4.4  รักษามาตรการทางการเงินให้สะท้องความเป็นจริงของสภาพเศรษฐกิจขณะนั้น  และให้มีเสถียรภาพ
           
          5.  หยุดการเจริญเติบโตขอประชากร  โดยมาตรการต่าง  ๆ  เช่น  การให้การศึกษา  หรือการขยายระบบการศึกษาภาคบังคับ  เป็นต้น
          
           6.  การกระจายความมั่นคงให้แก่กลุ่มคนที่ยากจน 
          
          7.  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ  ทั้งที่แปรรูปแล้วและยังไม่แปรรูป  แนวทางปฏิบัติมีดังนี้
                        7.1  ลดการใช้พลังงาน  เพื่อสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  รวมทั้งการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทน
                        7.2  สงวนรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ  โดยการสร้างความรู้ความเช้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนในชุมชน เพื่อให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเกิดจิตสำนึกที่จะมีส่วนร่วมในการรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
                        7.3  ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด  เพื่อให้ได้ทั้งผลผลิตทางอุตสาหกรรมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                        7.4  เปลี่ยนพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภค  เพื่อลดปริมาณขยะและของเสีย  โดยการ  ลดการใช้ (reduce)  การใช้แล้วใช้อีก  (reuse)  การแปรใช้ใหม่ (recucle)  และการซ่อมแซม (repair)

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

แนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งเเวดล้อม

แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
     ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมาย มีผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก ทั้งยังเกี่ยวโยงถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลเสียโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียสิ่งมีชีวิต หรือนำไปสู่สภาวะที่พืชและสัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ไปได้
     ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำแนวทางและวิธีดำเนินการในการป้องกัน ยับยั้ง ชะลอ และขัดขวาง การเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
     1.  การป้องกัน
          การป้องกัน หมายถึง การป้องกันคุ้มครองทรัพยากรที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้เอง เพื่อให้มีอัตราในการนำทรัพยากรมาใช้อยู่ในะระดับที่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนได้ทัน ซึ่งจะช่วยให้มีทรัพยากรนั้นไว้ใช้อย่างยั่งยืนทั้งยังรวมถึงการป้องกันทรัพยากรที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่เกิดการลุกลามจนทำให้สภาวะสิ่งแวดล้อมเสียสมดุลไป
          การป้องกันนี้อาจทำได้โดยการใช้มาตรการต่าง ๆ ตั้งแต่การใช้กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และความเข้าใจแก่ประชาชนในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม เพื่อมีทรัพยากรเกิดขึ้นหมุนเวียนสำหรับใช้งานได้อย่างยั่งยืนสืบไป
     2.  การแก้ไขและฟื้นฟู
          การแก้ไข หมายถึง การดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมทรัพยากรที่ลดลงหรือเสื่อมสลายของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
          การฟื้นฟู หมายถึง การดำเนินการกับทรัพยากรที่ลดลงหรือเสื่อมโทรมให้สามารถฟื้นคืนกลับสู่สภาพเดิมได้โดยการปิดกั้นไม่ให้มีการรบกวนระบบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ระบบสิ่งแวดล้อมมีเวลาในการฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เช่น การฟื้นฟูไร่เลื่อนลอย การฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลน เป็นต้น
          ดังนั้นหากกล่าวโดยรวมแล้ว การแก้ไขและฟื้นฟูจะเป็นขั้นตอนดำเนินการภายหลังจากที่เกิดการเสื่อมหรือเสียสภาพของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนการบำบัดฟื้นฟูสภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นและเหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป
     3.  การอนุรักษ์          การอนุรักษ์ หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยความฉลาดและใช้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์มากที่สุด โดยหลีกเลี่ยงให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
          กระบวนการดำเนินการอนุรักษ์อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ต้องครอบคลุมทั้งปัญหาด้านการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจนเกิดความเสื่อมโทรมรวมถึงปัญหาการก่อมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบกลับมาสู่ตัวมนุษย์เองด้วย โดยแนวทางในการอนุรักษ์ประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
               1.  การใช้อย่างยั่งยืน หมายถึง การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีของเสียที่เกิดจากการใช้งานน้อยที่สุดหรือไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลย
               การใช้อย่างยั่งยืนนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทำให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสามารถฟื้นตัวหรือเกิดขึ้นมาใหม่ได้ทันกับความต้องการใช้งานมนุษย์
               2.  การเก็บกักทรัพยากร หมายถึง การรวบรวมและการเก็บกักทรัพยากรที่มีแนวโน้มจะเกิดการขาดแคลนในบางช่วงเวลาไว้ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในกิจกรรมที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เชน การเก็บกักทรัพยากรน้ำที่มีมากในฤดูน้ำหลากไว้ เพื่อนำมาใช้ในฤดูแล้งที่ขาดแคลนน้ำ ซึ่งการเก็บกักน้ำมาใช้ในฤดูแล้งจะทำให้สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการใช้น้ำในฤดูน้ำหลากหรือในช่วงที่มีน้ำมาก หรือการเก็บผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว ไว้เป็นเสบียงอาหารในช่วงเวลาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ฤดูเก็บเกี่ยว เป็นต้น
               3.  การรักษา หมายถึง การดำเนินการกับทรัพยากรที่ลดลงหรือเสื่อมโทรมให้สามารถฟื้นคืนกลับสู่สภาพเดิมได้โดยอาศัยวิธีการทางเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้ามาช่วยดำเนินการซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย จนทำให้สิ่งแวดล้อมสามารถกับสู่สภาพเดิมได้อีก เช่น การใช้เทคโนโนยีในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานให้กลับเป็นน้ำสะอาด เป็นต้น
               4.  การพัฒนา หมายถึง การพัฒนาปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น เป็นการเร่งหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ผลผลิตทีดีขึ้น การพัฒนาทรัพยากรจะต้องมีการนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้ควบคู่กับกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอน ทั้งยังรวมถึงการพัฒนาเทคนิควิธีที่ทำให้ใช้ทรัพยากรในปริมาณน้อยแต่ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย
               5.  การสงวน หมายถึง การเก็บสงวนทรัพยากรไว้ไม่ให้มีการนำมาใช้งาน เนื่องจากทรัพยากรนั้นกำลังจะหมดหรือสูญสิ้นไป ทรัพยากรบางชนิดเมื่อสงวนไปในระยะเวลาหนึ่งแล้วอาจจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นจนสามารถนำมากใช้ใหม่ได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลาดังกล่าวอาจมีการอนุญาตให้นำทรัพยากรมาใช้ได้ โดยมีกฎเกณฑ์หรือมาตรการต่าง ๆ ควบคุม เช่น การสงวนพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น 
               6.  การแบ่งเขต หมายถึง การจัดแบ่งกลุ่มหรือประเภทของทรัพยากรเพื่อให้สามารถดำเนินการอนุรักษ์ได้ผลดีขึ้น การดำเนินการนี้อาจมีการแบ่งพื้นที่ควบคุมเพื่อให้มีสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร เช่น การจัดพื้นที่เป็นป่าอนุรักษ์หรืออุทยานซึ่งจะทำให้สภาพดิน พืช สัตว์ และป่าไม้มีสภาพที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ ดำรงพันธุ์ และเจริญเติบโต นอกจากนี้การแบ่งเขตยังช่วยให้สามารถกำหนดมาตรการดำเนินการต่าง ๆ ได้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ด้วย พื้นที่ที่มีการจัดการแบ่งเขตควบคุม ได้แก่ พื้นที่เขตต้นน้ำ เขตวนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ เขตป่าสงวน เขตห้ามล่าและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำตอบของสิ่งเเวดล้อม

คำตอบ   ตัวศิลปกรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ได้สร้างหรือกำหนดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันด้วยความสามารถสติปัญญากำลังกายกำลังใจ และได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าในทางศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาตร์ โบราณคดี  และเทคโนโลยี ศิลปกรรม ได้แก่  พระราชวัง วัง  วัด  ศาสนสถาน  ศาล  อนุสาวรีย์  ป้อม  คูเมือง  กำแพงเมือง  อาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม  คลอง  สะพาน  ท่าน้ำ  และแหล่งชุมชนโบราณ


แหล่งศิลปกรรม  หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณพื้นที่ที่ประกอบด้วยอาคารสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้นในแต่ละยุคสมัย จำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะลักษณะที่ ๑  คือ  แหล่งศิลปกรรมที่ยังใช้งาน เช่น วัด (โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียน)  สถานที่ราชการ (เก่า)  อาคารพาณิชย์ (เก่า)  บ้านเรือน (เก่า)  ย่านวัฒนธรรม (ชุมชนและตลาดเก่า)ลักษณะที่  ๒คือ แหล่งศิลปกรรมที่ไม่ได้ใช้งาน (ตามหน้าที่เดิม) แล้ว เช่น วัดร้าง  แหล่งประวัติศาสตร์ แหล่งชุมชนโบราณ และแหล่งโบราณคดีแหล่งศิลปกรรมที่กล่าวถึงทั้ง ๒ ลักษณะ  นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีความงดงามทางด้านศิลป สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ปฎิมากรรม ยังมีองค์ประกอบที่อยู่โดยรอบหรือสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอยู่ในตัวเอง ที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมความงามของศิลปกรรมนั้นให้เด่นชัดยิ่งขึ้น  สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม  หมายถึง สรรพสิ่งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบแหล่งศิลปกรรม เป็นองค์ประกอบและ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม    ต่อแหล่งศิลปกรรมนั้น ๆ   แนวความคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เกิดจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งมีแหล่งศิลปกรรมอยู่มากมาย แต่ความสำคัญของแหล่งศิลปกรรมกำลังถูกมองข้ามเพราะประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องความสำคัญ ประโยชน์ และคุณค่าของแหล่งศิลปกรรมนั้นๆ จึงเกิดการทำลาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แหล่งศิลปกรรมจึงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและมีสภาพเสื่อมโทรม มีผลทำให้หมดคุณค่า และหมดความสง่างาม เช่น มีสิ่งปลูกสร้างที่มีความสูง อยู่ในบริเวณโดยรอบที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากขาดการควบคุม การใช้ที่ดินและอาคารโดยรอบ หรือภายในบริเวณแหล่งศิลปกรรม การสร้างที่จอดรถ สารโทรคมนาคม อาคารพาณิชย์อยู่ใกล้เคียงประชิดแหล่งศิลปกรรมหรือ มีโครงการพัฒนาต่างๆ ถนน สะพาน เขื่อน ฝาย ประชิดรุกล้ำในแหล่งศิลปกรรม ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาที่นำไปสู่ความเสื่อมคุณค่าของแหล่งศิลปกรรม ปัจจุบันเป็นปัญหาที่เกินกำลัง และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรับผิดชอบเพียงหน่วยงานเดียวที่จะดูแล เรื่องการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ คือ กรมศิลปากร จึงอาจกล่าวได้ว่า การที่แหล่งศิลปกรรมหรือแหล่งมรดกทางวัฒนะรรมเสื่อมโทรม นั้นมีสาเหตุ มาจากสิ่งแวดล้อม ที่อยู่โดยรอบ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานอนุรักษ์แหล่งศิลปกรรมหรือมรดกทางวัฒนธรรมของชาติประสบผลสำเร็จ จึงต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบแหล่งศิลปกรรมนั่นเอง ปัจจุบันความเสื่อมโทรมและความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่อยู่แหล่งศิลปกรรมกำลังเป็นที่น่าวิตก โดยเฉพาะสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและมีส่วนทำลาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาหรือเพื่อกิจกรรมอื่นในท้องถิ่นนั้นๆ ตลอดจนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทั้งนี้สาเหตุ มาจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการรุกล้ำพื้นที่ของแหล่งศิลปกรรมเพื่อธุรกิจ การค้าโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้กับแหล่งศิลปกรรมบางแหล่งมีการก่อสร้างสิ่งใหม่ซึ่งไม่มีคุณค่าทางศิลปประชิดบดบังโบราณสถาน นับเป็นการทำลายคุณค่าความสง่างาม บางครั้ง มีการเปลี่ยนแปลง ค่านิยมและรูปแบบ เพราะคิดว่า เก่า เป็นเรื่องของความล้าสมัย บางที่ มีร่องรอยเหลือ ให้เห็นเพียงส่วนน้อย อันเนื่องมาจากการรื้อถอน ทิ้งร้าง เมื่อตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ก็ทำให้ไม่มีผู้เห็นความสำคัญ บ้างก็ใช้พื้นที่โบราณสถานส่วนที่เหลือเป็นที่ตั้งกิจกรรมทางการค้า เป็นลานจอดรถ บางแห่งทำลายโดยการขีดเขียนข้อความที่ไม่เหมาะสมตามอาคารหรือกำแพงโบราณ บางแห่งก็มีการรื้อทำลายโดยนำอิฐหรือวัสดุบางส่วนจากซากปรักหักพังของโบราณสถาน ไปเพื่อประโยชน์ใช้สอยส่วนตัวหรือเพื่อการค้า และบางแห่งเป็นที่เลี้ยงสัตว์ ทั้งขยะของเหลือใช้ หากปล่อยให้สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นอีกต่อไปจะมีผลทำให้ตัวศิลปกรรมเสียหาย มีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมและหมดสภาพไปในที่สุดแม้ว่าการพัฒนาจะช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าก็ตาม แต่การพัฒนาควรมีการวางแผนและป้องกัน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมด้วย มิฉะนั้นการพัฒนาจะเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมของแหล่งศิลปกรรมของชาติ ปรากฏการณ์เช่นนี้ มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต อาทิ การตัดถนน ผ่านกลางกำแพงเมืองโบราณหลายเมือง และวัดที่สำคัญอีกหลายวัด เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เป็นต้น และในที่สุดรัฐ ต้องเสียเงินงบประมาณจำนวนมากมหาศาลในการย้ายแนวถนนให้อ้อมเมืองโบราณเหล่านั้น รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟู มรดกอันมีค่าเหล่านี้ รวมทั้งสภาพแวดล้อมให้กลับมีสภาพสมบูรณ์
                        นอกจากนี้ภาวะมลพิษนับเป็นสิ่งที่มีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบและ ในแหล่งศิลปกรรมต่างๆ เช่น แรงสั่นสะเทือนและฝุ่นควันจากยวดยานพาหนะต่างๆ ที่สัญจรไปมาบนถนน      ที่ตัดผ่านแหล่งศิลปกรรม การระเบิดหิน ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งของแหล่งศิลปกรรม มีฝุ่น             และละออง จากสารเคมี บางประเภท ที่สามารถทำลายส่วนประกอบ ของอาคารโบราณสถาน และ ทำลายภูมิทัศน์ที่อยู่ในบริเวณโดยรอบ  เนื่องจากอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม ที่สร้างขึ้นมาโดยขาดการควบคุมการใช้ที่ดินที่เหมาะสม การตั้งร้านค้าแผงลอย ซึ่งมีการทิ้งขยะ การระบายน้ำทิ้งในบริเวณโดยรอบทำให้น้ำเน่า น้ำเสีย          ในบริเวณแหล่งศิลปกรรม  ทัศนอุจาดที่เกิดจากการติดป้ายโฆษณา สายไฟฟ้า เสาวิทยุโทรทัศน์ เป็นมลพิษทางสายตา และเป็นการทำลายคุณค่าของแหล่งศิลปกรรมทางอ้อม

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

สิ่งเเวดล้อมที่เกิดจากธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมในชุมนุมอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ



1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้น ดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้และสัตว์อื่น ๆ เป็นต้น



2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอด จนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย

สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นชุมชน โดยมีขนบธรรมเนียบประเพณี ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นและข้อจำกัดทางธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เพื่อให้เกิดการดำรงชีวิตอย่างผาสุกและเสริมสร้างคุณภาพแห่งชีวิต


ในแต่ละชุมชนก็จะมีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ทัศนคติ และนิสัยใจคอของผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชนด้วย เช่น บางแห่งอาจอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ บางแห่งอาจมีความกว้างใหญ่ไพศาลของทะเลและบางแห่งก็สลับซับซ้อนด้วยทิวเทือกเขา มีภูเขามาก สิ่งแวดล้อมในบางแห่งเหมาะที่จะใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว บางแห่งก็เหมาะที่จะใช้ทำการเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งแต่ละชุมชนต่างได้รับประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ตามลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ และโดยความเป็นจริงแล้วสิ่งแวดล้อมได้ให้ประโยชน์แก่คนในชุมชนนั้นอย่างมากมายมหาศาล เราใช้สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยในการประกอบอาชีพ ให้เป็นกฎเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของสังคม ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งรวมของความสวยงามตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งที่เราสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติได้





มนุษย์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้อาศัยและใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการอยู่รอดของชีวิต มนุษย์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ดังนั้นการกระทำของมนุษย์จึงมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อม ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่เราเรียกกันว่าระบบนิเวศวิทยา ผลกระทบกระเทือนนั้นเป็นไปได้ทั้งในทางสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น หรือในทางทำลายให้เลวลง ผลกระทบกระเทือนนี้เกิดขึ้นทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม มีมากบ้างน้อยบ้าง



ตัวอย่างง่าย ๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงการกระทำที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าเราต้องการรับประทานอาหาร เราต้องเอาพืช ผลไม้ จากในป่าหรือต้องใช้ที่ดินเพาะปลูก ถ้าเราต้องการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ก็จำเป็นต้องตัดต้นไม้ในป่าเอามาสร้างบ้านจะทำให้จำนวนต้นไม้ ป่าไม้ ลดลง และถ้าลดลงมาก ๆ จะทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุล ความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป ฝนอาจจะตกน้อยจนทำให้แห้งแล้ง หรืออาจจะเกิดน้ำท่วมได้ เพราะไม่มีป่าไม้ที่ช่วยทำให้น้ำถูกดูดซึมซับอยู่ใต้ดิน ในขณะเดียวกันถ้าเราช่วยกันปลูกต้นไม้ ไม่ว่าจะต้นเล็กหรือต้นใหญ่ก็ตามจะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนของเราดีขึ้น จะมีต้นไม้เขียวชอุ่มมาก ป่าไม้ก็อุดมสมบูรณ์ ซึ่งก็มีส่วนทำให้ฝนตก ไม่แห้งแล้ง และยังช่วยไม่ให้เกิดน้ำท่วมได้ เพราะน้ำจะถูกดูดซึมไว้ในป่าและถูกปล่อยให้เราได้ใช้กันตลอดทั้งปี ด้วยวิถีทางธรรมชาติ ต้นไม้ยังช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ด้วย เพราะในเวลากลางวันต้นไม้จะหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และคายก๊าซอ๊อกซิเจนออกมา ซึ่งเป็นก๊าซที่มนุษย์เราต้องการในการหายใจ นอกจากนี้ ต้นไม้ยังช่วยทำให้บ้านเมืองและชุมชนมีความสวยงามร่มเย็นน่าอยู่อาศัยมากขึ้น



ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ ณ ที่แห่งใด จะตั้งชุมชนใหญ่หรือเล็กก็ตาม ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องอาศัยพึ่งพาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ย่อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมได้ แม้ว่าจะมีมนุษย์อยู่เพียงคนเดียวในโลก สิ่งแวดล้อมก็ถูกทำลายได้เหมือนกัน เป็นต้นว่า มนุษย์เก็บเกี่ยวเอาพืชพันธุ์ไม้และล่าสัตว์เป็นอาหาร ตัดไม้ในป่าเอามาสร้างที่อยู่อาศัยและทำเชื้อเพลิงและมนุษย์ก็ยังขับถ่ายของเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม แต่มนุษย์เพียงคนเดียวก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากนัก แต่เมื่อใดก็ตามที่มีมนุษย์มากขึ้น ความต้องการใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มากขึ้นตามไปด้วย เพราะแต่ละคนต่างก็มีส่วนในการทำลายสิ่งแวดล้อมคนละมากบ้างน้อยบ้าง เมื่อรวมทั้งหมดแล้วสิ่งแวดล้อมในชุมชนจะถูกทำลายอย่างมาก และปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัด

ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี ก็เป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วจากการที่เรามุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ขยายการก่อสร้าง ปัจจัยพื้นฐานแห่งการพัฒนา เช่น ถนน เขื่อน สนามบิน ท่าเรือ ฯลฯ เร่งผลิตสินค้าและบริการให้ทันกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละชุมชนจึงถูกนำมาใช้กับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นจำนวนมาก จากขบวนการพัฒนาและการผลิตทำให้มีของเสียเหลือทิ้งออกมาในรูปต่าง ๆ เจือปนอยู่กับสิ่งแวดล้อมในชุมชน ความสมดุลในธรรมชาติก็เสียไป

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สภาพสิ่งเเวดล้อม

การจะจัดและสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของแต่ละโรงเรียนที่ต่างก็มีสภาพของปัญหาหรือความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวความคิดและดุลยพินิจของบุคคลภายในโรงเรียนนั้น ๆ ที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น แต่ควรอยู่ภายใต้หลักการของ "การร่วมคิด ร่วมทำ" ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้สึกที่ดี ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะนักเรียนซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ผู้บริหารและคุณครูควรยอมรับว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถและเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ที่มีความรักความผูกพันและปรารถนาดีต่อโรงเรียนของเขา จึงควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นตัดสินใจร่วมวางแผน จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนภายใต้การแนะนำของผู้บริหารและครูอาจารย์
2. สภาพแวดล้อมทางวิชาการ ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ตลอดจนการจัดบริการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนทางวิชาการต่าง ๆ ที่จะทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ประสบการณ์ให้มากที่สุด ภายใต้บรรยากาศที่มีชีวิตชีวา แจ่มใส น่าเรียนรู้ สอนสนุก เรียนสนุก ครูรักเด็ก เด็กรักครู รักเพื่อน ไม่มีบรรยากาศแห่งความกลัว หวาดผวา วิตกกังวล ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "อยากมาโรงเรียน"

การจัดสภาพแวดล้อมทางวิชาการ ที่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศดังกล่าว ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ส่งเสริมความสามารถของนักเรียนแต่ละบุคคล ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน แล้วดำเนินกิจกรรมด้วยความเป็นกันเอง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการเรียนเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สภาพแวดล้อมเช่นนี้จะทำให้ทุกคนมีความสุขมีความมั่นใจ และตระหนักในคุณค่าของตนเอง

3. สภาพแวดล้อมทางการบริหารการจัดการ ได้แก่ การดำเนินการใด ๆ ภายในโรงเรียนให้การปฏิบัติงานสำเร็จลงด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคคากร ซึ่งสังเกตได้จากการดำเนินงานอย่างมีระบบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันของบุคลากร ทุกคนในโรงเรียนยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรต่อกัน รักใคร่กลมเกลียวกัน ฯลฯ

ลักษณะการบริหารการจัดการที่ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีนั้น เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบาย ควรให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วม มีการนำข้อมูลจากการสำรวจสภาพปัจจุบันมากำหนดเป็นนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนางานของโรงเรียน การมอบหมายงานหรือการสั่งการก็เป็นไปตามสายการบังคับบัญชา แจ่มชัด เหมาะสมกับความสามารถ ไม่เกินกำลัง มอบหมายงานแล้วติดตามดูแล ช่วยเหลือ ถามไถ่ดูแลความเหน็ดเหนื่อย ยกย่องชมเชย มีการสร้างขวัญกำลังใจ
จัดสวัสดิการให้หลาย ๆ รูปแบบ เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กลุ่มส่งเสริมสิ่งเเวดล้อม

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนขึ้น ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งสอดรับการดำเนินการขององค์การสหประชาชาติที่ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 – 2555 ศตวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (United Nations Decade of Education for Sustainable Development : DESD) โรงเรียนนำร่องในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Eco–School) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่ทั้งสิ้น จำนวน 41 แห่ง โดยดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามพันธกิจ 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา

นอกจากนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ ดำเนินการงานสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านระบบโรงเรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ โครงการรุ่งอรุณ การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระยะที่ 1-6 โดยได้ดำเนินการกับโรงเรียนในทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนมากกว่า 1,000 โรงเรียน นักเรียนและบุคลากรครูรวมกว่า 50,000 คน มีผลผลิตด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผลการศึกษาเชิงปฏิบัติจริงของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานของกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางของกระบวนการเรียนรู้ด้านพลังงานได้ต่อไป ปัจจุบัน สถาบันได้ต่อยอดโครงการรุ่งอรุณ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ 16 โรงเรียนทั่วประเทศให้มีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ และมีเป้าหมายขยายผลไปยังโรงเรียนอีก 200 โรง

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผลกระทบของธรรมชาติของเรือนกระจก

ผลกระทบจากภาวะเรือนกระจก
•ความร้อนของอากาศที่มีอยู่ในโลกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
•ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ส่งผลต่อประเทศที่เป็นหมู่เกาะและชายฝั่งทวีป ตลอดจนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใช้สำหรับเป็นที่ผลิตอาหารจะจมอยู่ใต้ทะเล
•ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะรุนแรงมากขึ้น เช่น ความรุนแรงของพายุจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิพื้นผิวหน้าของทะเล ถ้าอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นอีก ความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนจะเพิ่มขึ้นอีก 40-50 %
ฝนกรด ฝนกรดเกิดจากชั้นบรรยากาศที่ถูกมนุษย์ปล่อยสิ่งสกปรกไป สะสมไว้ที่ชั้น บรรยากาศ เช่น ควัน เขม่า ละอองไอเสีย ก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรม จากเครื่องยนต์ ซึ่งก๊าซบางอย่างไปรวมตัวกับน้ำในบรรยากาศ ทำให้เกิดกรดขึ้น เช่น ซึ่งกรดทั้ง 3 ตัวนี้เป็นกรดแก่ ทำให้น้ำฝนเป็นกรด
ผลกระทบจากฝนกรด
•ผู้ที่ใช้น้ำฝนเป็นน้ำดื่ม น้ำใช้ จะมีผลต่อสุขภาพเพราะฝนกรดเหล่านี้อาจทำให้เกิดพิษภัย ต่อผู้บริโภค เช่น ทำให้เป็นโรคกระเพาะ เป็นมะเร็ง อันเนื่องมาจากกรดซัลฟูริค เป็นต้น
•ฝนกรดจะทำลายธาตุอาหารบางชนิดในดิน เช่น ไนเตรต ฟอสเฟต ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเพาะปลูก เช่นปลูกพืชผักไม่ขึ้น ได้ผลผลิตน้อยกว่าปกติ เพราะฝนกรดทำให้ดินเปรี้ยว จุลินทรีย์หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ถูกทำอันตรายต่อความ เป็นกรดทั้งสิ้น พืชต้องอาศัย จุลินทรีย์จากดิน เช่น สารอินทรีย์โมเลกุล ใหญ่จะต้องถูกสลายให้เป็นโมเลกุลเล็ก พืชจึงจะดูดเข้าไปใช้ได้ หรือพืชจะต้องอาศัยอนุมูลแอมโมเนียที่จุลินทรีย์ดึงมาจากอากาศ ดังนั้น การที่มีกรดในน้ำฝนจึงลดความเจริญของจุลินทรีย์ในดิน ยังผลกระทบกระเทือนไปถึงพืชอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สิ่งเเวดล้อมในชุมชน

1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้น ดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้และสัตว์อื่น ๆ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอด จนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นชุมชน โดยมีขนบธรรมเนียบประเพณี ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นและข้อจำกัดทางธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เพื่อให้เกิดการดำรงชีวิตอย่างผาสุกและเสริมสร้างคุณภาพแห่งชีวิต
ในแต่ละชุมชนก็จะมีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ทัศนคติ และนิสัยใจคอของผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชนด้วย เช่น บางแห่งอาจอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ บางแห่งอาจมีความกว้างใหญ่ไพศาลของทะเลและบางแห่งก็สลับซับซ้อนด้วยทิวเทือกเขา มีภูเขามาก สิ่งแวดล้อมในบางแห่งเหมาะที่จะใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว บางแห่งก็เหมาะที่จะใช้ทำการเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งแต่ละชุมชนต่างได้รับประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ตามลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ และโดยความเป็นจริงแล้วสิ่งแวดล้อมได้ให้ประโยชน์แก่คนในชุมชนนั้นอย่างมากมายมหาศาล เราใช้สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยในการประกอบอาชีพ ให้เป็นกฎเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของสังคม ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งรวมของความสวยงามตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งที่เราสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติได้

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มลพิษทางน้ำ

มลพิษทางน้ำ (Water pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหามลพิษอื่นๆปัญหามลพิษทางน้ำมักเกิดกับเมืองใหญ่ๆแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและสารมลพิษต่างๆทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
สาเหตุของการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำทิ้งจากที่อยู่อาศัย ซึ่งมักจะมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนมาด้วย น้ำทิ้งดังกล่าวมักเป็นสาเหตุของการที่น้ำมีสีดำ และมีกลิ่นเน่าเหม็น น้ำที่มีสารพิษตกค้างอยู่ เช่น น้ำจากแหล่งเกษตรกรรมที่มีปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช น้ำทิ้งที่มีโลหะหนักปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สารเหล่านี้จะถูสะสมในวงโคจรโซ่อาหารของสัตว์น้ำ และมีผลต่อมนุษย์ภายหลัง
ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ
น้ำที่อยู่ในระดับรุนแรง ซึ่งประชาชนทั่วไป เรียกว่า น้ำเสีย มีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน คือตะกอนขุ่นข้น สีดำคล้ำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ก่อให้เกิดความรำคราญต่อชุมชน และอาจมีฟองลอยอยู่เหนือน้ำเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของน้ำเสียบางครั้งเราอาจมองไม่เห็นก็ได้ ถ้าน้ำนั้นปนเปื้อนด้วยสารพิษ เช่น ยาปราบศัตรู หรือยาฆ่าแมลง แร่ธาตุ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558


สาเหตุและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่มากมาย แต่ที่สําคัญมี 2 ประการ คือ
1. การเพิ่มของประชากร (Population Growth) โดยเฉลี่ยประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มสูงมาก ขึ้น ถึงแม้ว่าการรณรงค์เรื่องการวางแผนครอบครัวจะได้ผลดี แต่ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยัง เป็นการเติบโตแบบเอกซ์โพเนนเชียล (Exponential Growth) ซึ่งเป็นการเพิ่มในอัตราทวีคูณ เมื่อผู้คน มากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน ฯลฯ
จากการคาดคะเนการเพิ่มจํานวนประชากรโลกซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดูข้อมูลในภาพที่ 4-1)
ทําให้ความต้องการปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดํารงชีวิตเพิ่มตาม คาดว่า ปัญหาต่าง ๆ จะตามมาอย่างรวด เร็วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สวัสดิการอื่น ๆ การ ประกอบอาชีพ ฯลฯ ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าวิตกยิ่งสําหรับประเทศที่ประชากรมี แนวโน้มเพิ่มสูงมาก จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางลดความตึงเครียดลงก่อนที่จะถึงซึ่ง ภาวะวิกฤติในอนาคต
 2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) การขยายตัวทางเศรษฐกิจทําให้มาตรฐานในการดํารงชีวิตสูงตามไปด้วย มี การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเกินความจําเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต จึงจําเป็นต้องใช้ พลังงานมาก ขึ้ นตามไปด้วย ในขณะเดี ยวกั นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ก็ ช่วยเสริมให้ การนํา ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ทําได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว มีผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ที่ อยู่อาศัย การสาธารณสุข การศึกษา การว่างงาน ฯลฯ ปํญหาเหล่านี้พบมากในประเทศด้อยพัฒนา ประเทศเหล่านี้จําเป็นต้องเร่งพัฒนาด้วยการเร่งการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรมและการ อุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงถูกนํามาใช้ในการเกษตรรวมทั้งปุ๋ยเคมี ยา ปราบศัตรูพืช ฯลฯ สารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกปล่อยออกมาในรูปควันเสีย ฝุ่นละออง ทําให้ เกิดภาวะอากาศเป็นพิ ษ เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิ ษทางเสียง ของเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรมและจากเกษตรกรรมถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ทําใหเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ นอก จากนี้ทรัพยากรธรรมชาติยังถูกนํามาใช้อย่างรวดเร็วและมากมาย เป็นผลให้ สภาพแวดล้อม เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทําลายป่า ทําให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล การทําลายหน้าดินทําให้เกิดปัญหาน้ำ ท่วม แร่ธาตุต่าง ๆ ถูกนํามาใช้เป็นจํานวนมหาศาล กระบวนการในการเปิดป่า ทําเหมือง และขั้น ตอนของการทําเหมือง ล้วนแล้วแต่มีสวนในการทําลายสภาวะแวดล้อมตาม ธรรมชาติอย่างน่าเสีย ดาย มนุษย์เป็นตัวการสําคัญในการเพิ่มพูนภาวะมลพิษให้แก่ระบบนิเวศ ความเจริญทาง เทคโนโลยียิ่งมีมากขึ้นเท่าไร ปัญหาการสร้างความสกปรกให้แก่สภาพแวดล้อมดูเหมือนจะยิ่งทวีมาก ขึ้นเท่านั้น นับตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อคริตส์ศตวรรษที่ 18 โรงงานอุตสาหกรรมกลายเป็น แหล่งถ่ายเทและปล.อยของเสียให้แก่สภาพแวดล้อมเรื่อยมาและมากขึ้นเป็นลําดับ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยจํากัดที่สําคัญของมนุษย์ เพราะเป์นตัวการทําลายมนุษย์ เอง ในประเทศที่พัฒนาแล้วสิ่งแวดล้อมที่ถือว่าอยู่ในสภาพที่เป์นพิษต่อประชากร มักเกิดจากสารเคมี อากาศเสีย และน้ำเป็นพิษ ส่วนปัญหาเดียวกันนี้ในประเทศด้อยพัฒนาเกิดเนื่องจากการขาดแคลน อาหารและทรัพยากรธรรมชาติ
จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทําให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง อันเกิดจากปัญหา สิ่งแวดล้อมที่สําคัญ 2 ประการ คือ (ดูภาพที่ 4-2 ประกอบ)
1. ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่า ไม่ถูกทําลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การขาดแคลนน้ำ ฯลฯ
2. ภาวะมลพิษ (Pollution) เช.น มลพิษทางน้ำ อากาศ ดิน เสียง และความร้อน ฯลฯ อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง

  ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สาเหตุของมลพิษเป็นผลจากการกระทําของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เนื่อง จากมนุษย์ซึ่งเป์นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของธรรมชาติมีการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วและมนุษย์ มี บทบาทที่แตกต่างไปจากธรรมชาติอื่นในหลายกรณี กล่าวคือเมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ความ ต้องการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเพื่อใช้เป็นปัจจัยในการดํารงชีวิตและสร้างสิ่งอํานวย ความ สะดวกก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น มนุษย์มีความสามารถในการนําเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ ทําการเกษตร การประมง สร้างเมือง สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ สร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสิ่ง ต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เรือ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทําให้เกิดความไม่สมดุลในธรรมชาติ ก่อ ให้เกิดปัญหารุนแรงทางด้านสิ่งแวดล้อมและรวมเรียกปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ปัญหามลพิษ ซึ่งมีหลาย ลักษณะหลายประเภท ล้วนแต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ได้ ดังนั้นหากมนุษย์ไม่มีจิต สํานึกร่วมกันในการแก้ไขและรักษาสภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้มนุษย์เราต้อง ประสบปัญหาในอนาคตมากขึ้นอย่างแน่นอน

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ผลกระทบของสิ่งแวดล้อม


             มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ดังนั้นการกระทำของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ดังนี้
            1.  มลพิษทางอากาศ  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อากาศเป็นพิษ  หมายถึง สภาพอากาศที่มีสารอื่นเจือปน
มาก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิตคน สัตว์  พืชและสภาวะแวดล้อมอื่นๆ สารเหล่านี้ ได้แก่ เขม่า ควัน ฝุ่นละออง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสารเหล่านี้ถ้าสะสมมากๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนัง มะเร็ง หรือเกิดอาการเวียนศีรษะแหล่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ได้แก่ การคมนาคม การเผาขยะ การก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดฝุ่นและควันเข้าสู่อากาศที่เราหายใจเข้าไป
            2.  มลพิษทางน้ำ  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า น้ำเสีย สิ่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำนั้นเกิดจากการที่มีการทิ้งของเสียลงในแม่น้ำลำคลอง ทั้งที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม สถานบริการ การประกอบอาชีพต่างๆ หรือจากอาคารบ้านเรือน นอกจากนี้ยังมีการทิ้งขยะมูลฝอยลงในแหล่งน้ำ หรือลงในแม่น้ำลำคลอง ทำให้เกิดน้ำเสียเป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรคทำลายสุขภาพ น้ำมีกลิ่นเหม็น สัตว์น้ำเสียชีวิต และทำลายความสวยงามและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
            3.  มลภาวะทางดิน  หมายถึง การที่ดินเกิดความเสียหายจากการกระทำของมนุษย์เองส่วนใหญ่มักจะเป็นกิจกรรมทางการเกษตร ได้แก่การใช้ยาฆ่าแมลง การใช้ปุ๋ยเคมี หรือการปลูกพืชโดยไม่มีการบำรุงรักษาดิน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากน้ำเสีย หรือการทิ้งฝังขยะมูลฝอย  
            4.  มลภาวะทางเสียง  เป็นลักษณะของเสียงที่ดังมากจนเกินไป ทำให้เกิดความรำคาญหรือบางทีอาจเป็นอันตรายต่อหู เสียงเหล่านี้เกิดจากยานพาหนะ เสียงเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
                                                            

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
             ปัญหาสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งก่อให้เกิดผลทางลบกระทบต่อคนเรา ทำให้การดำเนินชีวิตของเราผิดปกติไปปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มักพบบ่อยๆ  ในท้องถิ่น คือ
            1.  น้ำเสีย  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก และมักพบได้ในท้องถิ่นที่เป็นชุมชนใหญ่ หรือมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ สภาพของน้ำเสียหมายถึง สภาพน้ำที่มีระดับออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อย มีสัดส่วนของแบคทีเรียมาก บางครั้งจะมีสารพิษเจือปนอยู่ มีสภาพกลิ่นเหม็น สีดำ มีขยะลอย ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้น้ำเสียเกิดจากการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจากครัวเรือน หรือจากการทำการเกษตร ที่ไม่ผ่านระบบกำจัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยลงไปสู่แหล่งน้ำต่างๆ ทำให้น้ำในแหล่งน้ำต่างๆ
    
            2.  ปัญหาน้ำท่วม  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบอยู่ตามท้องถิ่นที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม อยู่ใกล้แม่น้ำ หรืออยู่ชายฝั่งทะเลซึ่งบริเวณพื้นที่เหล่านี้มักจะมีระบบระบายน้ำไม่ดี เมื่อเวลาฝนตกหนักน้ำไหลบ่าก็จะทำให้เกิดมีน้ำท่วมขัง ซึ่งจะก่อความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ  ถ้าเป็นแหล่งที่มีการเกษตรกรรมจะทำให้พืชผลเสียหายในขณะที่มีน้ำท่วมขังอยู่ แต่เมื่อหลังน้ำลดแล้วมักจะเกิดโรคต่างๆ  เกิดขึ้นตามมา สาเหตุของการเกิดน้ำท่วมมักมีหลายสาเหตุ คือ การตัดไม้ทำลายป่าบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้การดูดซับหรือการชะลอน้ำทำได้น้อย การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนน ขวางเส้นทางของน้ำ ถ้าในบริเวณชายฝั่งทะเลก็จะเกิดจากการหนุนของน้ำทะเล หรืออาจเกิดจากฝนที่ตกหนักจนระบายน้ำไม่ทัน
            3.  ปัญหาภัยแล้ง  เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมักพบในท้องถิ่นที่อยู่นอกตัวเมืองหรือชนบทที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนที่ตกลงมาอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ไม่มีระบบน้ำประปา สภาพภัยแล้งเกิดจากความชุ่มชื้นในอากาศมีน้อยและในดินมีน้ำน้อยเนื่องจากฝนไม่ตกหรือทิ้งช่วงเป็นเวลานาน จะเป็นเหตุให้มีระดับน้ำตามแหล่งน้ำที่ผิวดินที่เป็นแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงมีน้ำน้อย ไม่พอพียงแก่การนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค หรือทำการเกษตร
     

            4.  ปัญหาดินถล่ม  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มักพบอยู่ในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ตามเชิงเขา ดินถล่มหรือโคลนถล่มมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนตกหนัก ที่น้ำจากภูเขาไหลบ่าพัดเอาดินเอาโคลนมากองรวมกันไว้มากๆ และเมื่อถึงระดับหนึ่งซึ่งบริเวณที่รองรับทนน้ำหนักไม่ไหว เกิดการถล่มลงมาของกองดินหรือโคลน ซึ่งถ้าในบริเวณนั้นมีการตั้งบ้านเรือนอยู่ ก็จะเกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หรือบางครั้งเกิดจากการตัดต้นไม้บนพื้นที่ภูเขาและไหล่เขา เมื่อเกิดฝนตกหนักไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่จะยึดดินไว้ทำให้เกิดดินถล่ม
            5. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและไฟป่า  เป็นปัญหาที่พบในท้องถิ่นต่างๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ก็มักจะมีการลักลอบทำลายป่าไม้อยู่เนืองๆ  นอกจากนี้ไฟป่าก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลงและทำลายความสมดุลของธรรมชาติ และการตัดไม้ทำลายป่าทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ  ตามมา เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาดินโคลนถล่ม ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขิน เป็นต้น
           

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

ปัญหาความรุนเเรงของสิ่งแวดล้อม

ปัญหาความรุนเเรงของสิ่งแวดล้อม
การรวมตัวกันอย่างหนาแน่นของแก๊ส จากการอุตสาหกรรม และควันพิษที่เกิด ขึ้นในอากาศที่พวกเราหายใจ เข้าไป ได้สั่งสมเพิ่มพูน สูงถึงบรรยากาศชั้นบน สิ่งนี้ได้ก่อ ให้เกิดวิกฤตการณ์พร้อมกันทีเดียว 3 อย่าง อันได้แก่ ฝนกรด ชั้นโอโซนถูกทำลาย และเกิดอากาศร้อนขึ้นทั่วโลก หรือเป็นตัวการก่อให้เกิด "ปรากฏการณ์เรือนกระจก"
แต่ละอย่าง ที่กล่าวมา แล้วนั้นสามารถก่อให้เกิดผลที่เป็น อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตจนทำให้ถึงตายได้ยิ่ง เมื่อทั้ง 3 ปรากฏการณ์ มารวมกันแล้ว มันสามารถคุกคามโลกได้มากเท่า ๆ กับสงครามนิวเคลียร์เลย ทีเดียว
ก๊าซที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทั้ง 3 อย่าง ได้แก่
- ซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์
- ไนโตรเจนอ๊อกไซด์
- คาร์บอนไดอ๊อกไซด์
- คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFCS)
ภาวะเรือนกระจก หมายถึง ภาวะที่แสงอาทิตย์ผ่านลงมาและ ก๊าซคาร์บอน ไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่น ๆ ที่พอกพูนอยู่ในบรรยากาศระดับต่ำ จะตัดความร้อนเอาไว้ ไม่ให้สะท้อนออกไป ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เหมือนกับ เรือนกระจก ที่ใช้ปลูกต้นไม้ในเมืองหนาว
ก๊าซที่พบในเรือนกระจก ได้แก่
•คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน แก๊ส) ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และควัน จากยานพาหนะ
•ก๊าซมีเธน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ โดยการกระทำของของแบคทีเรีย มักเกิดในที่มีน้ำขัง ท้องนาที่น้ำท่วมขัง ลมหายใจของวัวและตัวปลวก การเผาฟืนและป่าไม้ มีระดับการเพิ่มราวหนึ่งเปอร์เซนต์ทุก ๆ ปี ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
•ก๊าซคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ซึ่งใช้เป็นน้ำยาทำความเย็นใช้ทำความสะอาดและใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับทำโฟมพลาสติก เพิ่มขึ้น ปีละราว 5 เปอร์เซ็นต์
•ก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก๊าซส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากปุ๋ย ซึ่งมีไนโตรแจนเป็นส่วนผสมสำคัญ นอกจากนี้ยังเกิดจากการเผาถ่านหิน และเชื้อเพลิงที่เป็น ฟอสซิลอื่น ๆ รวมทั้งน้ำมันเบนซินด้วย
ก๊าซต่าง ๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติสามารถดูดซับรังสีอินฟาเรด (รังสีที่มองไม่เห็น ปกติจะทำหน้าที่นำเอาความร้อน ส่วนเกินจากโลกขึ้นสู่อวกาศ) ได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านส่วนประกอบทางเคมีของบรรยากาศ ประมาณว่า ถ้าก๊าซเหล่านี้ มีปริมาณมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นตัวเร่งที่ทำให้อากาศร้อนยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ผลกระทบจากภาวะเรือนกระจก
•ความร้อนของอากาศที่มีอยู่ในโลกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
•ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ส่งผลต่อประเทศที่เป็นหมู่เกาะและชายฝั่งทวีป ตลอดจนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใช้สำหรับเป็นที่ผลิตอาหารจะจมอยู่ใต้ทะเล
•ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะรุนแรงมากขึ้น เช่น ความรุนแรงของพายุจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิพื้นผิวหน้าของทะเล ถ้าอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นอีก ความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนจะเพิ่มขึ้นอีก 40-50 %
ฝนกรด ฝนกรดเกิดจากชั้นบรรยากาศที่ถูกมนุษย์ปล่อยสิ่งสกปรกไป สะสมไว้ที่ชั้น บรรยากาศ เช่น ควัน เขม่า ละอองไอเสีย ก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรม จากเครื่องยนต์ ซึ่งก๊าซบางอย่างไปรวมตัวกับน้ำในบรรยากาศ ทำให้เกิดกรดขึ้น เช่น ซึ่งกรดทั้ง 3 ตัวนี้เป็นกรดแก่ ทำให้น้ำฝนเป็นกรด
ผลกระทบจากฝนกรด
•ผู้ที่ใช้น้ำฝนเป็นน้ำดื่ม น้ำใช้ จะมีผลต่อสุขภาพเพราะฝนกรดเหล่านี้อาจทำให้เกิดพิษภัย ต่อผู้บริโภค เช่น ทำให้เป็นโรคกระเพาะ เป็นมะเร็ง อันเนื่องมาจากกรดซัลฟูริค เป็นต้น
•ฝนกรดจะทำลายธาตุอาหารบางชนิดในดิน เช่น ไนเตรต ฟอสเฟต ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเพาะปลูก เช่นปลูกพืชผักไม่ขึ้น ได้ผลผลิตน้อยกว่าปกติ เพราะฝนกรดทำให้ดินเปรี้ยว จุลินทรีย์หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ถูกทำอันตรายต่อความ เป็นกรดทั้งสิ้น พืชต้องอาศัย จุลินทรีย์จากดิน เช่น สารอินทรีย์โมเลกุล ใหญ่จะต้องถูกสลายให้เป็นโมเลกุลเล็ก พืชจึงจะดูดเข้าไปใช้ได้ หรือพืชจะต้องอาศัยอนุมูลแอมโมเนียที่จุลินทรีย์ดึงมาจากอากาศ ดังนั้น การที่มีกรดในน้ำฝนจึงลดความเจริญของจุลินทรีย์ในดิน ยังผลกระทบกระเทือนไปถึงพืชอีกด้วย
•ฝนกรดทำลายวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด คือ จะกัดกร่อนทำลายพวกโลหะ เช่น เหล็กเป็นสนิมเร็วขึ้น สังกะสีมุงหลังคาที่ใกล้ ๆ โรงงานจะ ผุกร่อนเร็ว สังเกตได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้แอร์ ตู้เย็น หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ปูนซีเมนต์หมดอายุเร็วขึ้น ผุกร่อนเร็วขึ้น เป็นต้น
•ฝนกรดจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปู หอย กุ้งสูญพันธุ์ไปได้ เพราะ ฝนกรดที่เกิดจากก๊าซซัลเฟอร์ไดอ๊ออกไซด์และเกิดจากก๊าซไนโตรเจนอ๊อกไซด์ พวกนี้จะทำให้น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบกลายเป็นกรด ทำให้สัตว์น้ำดังกล่าวตาย เช่น อเมริกาตอนกลาง ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำลดลง ทำให้ทะเลสาบ 85 แห่งไม่มีปลา และทะเลสาบในประเทศวีเดน 15,000 แห่ง ไม่มีปลา และนับวันจะปราศจากปลามากขึ้น ทะเลสาบางแห่ง ป้องกันฝนกรดได้ เพราะในทะเลสาบนั้นมีสารพวกไบคาร์บอเนตละลายอยู่ หรือบางแห่งมีธาตุทางธรณีวิทยา
ชั้นโอโซนรั่ว เมื่อปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ศึกษาบรรยากาศเหนือขั้วโลกใต้ พบว่าปริมาณโอโซนที่ ครอบคลุมโลกชั้นสูงประมาณ 10-15 ไมล์ มีปริมาณ ลดลงอย่างน่าวิตก เหลือเพียง 1 ใน 3 ของระดับปกติ หลายคนอ่านข่าวนี้แล้วผ่าน เลยไป คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ประเทศไทยอยู่ห่างขั้วโลกเหลือเกิน ไม่น่าจะมี ผลกระทบกระเทือนมาถึง จึงไม่ต้องวิตกกังวล นับว่าเป็นความคิดที่ผิด แม้ช่องโหว่ ของโอโซนจะเกิดขึ้นแถบขั้วโลกใต้ ก็มีผลต่อชาวโลกทุกคน และผู้บริโภคทุกคนอาจ จะช่วยกันแก้ไขให้ปัญหานี้ลดลงได้ หากละเลยไม่ช่วยกันแก้ไขเสียตั้งแต่บัดนี้ เพียงชั่วลูกหลาน ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้น
โอโซน เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยอ๊อกซิเจนสามอะตอม ในบรรยากาศเหนือโลก ชั้น โอโซนที่ ครอบคลุมโลกช่วยป้องกันรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มิให้มาถึงโลก มากเกินไป
บนพื้นโลก โอโซนเป็นก๊าซเสียจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม โอโซนบนผิวโลก ไม่อาจลอยขึ้นไปทดแทนบรรยากาศชั้นบน ได้แต่วนเวียนอยู่บน พื้นโลก เพียงไม่กี่วัน ก็สลายตัวกลายเป็น อ๊อกซิเจน
โอโซนส่วนใกล้พื้นดินนี้มีน้อย เกินไป และไม่ช่วยป้องกัน รังสีอุลตราไวโอเลต ในแสงจากดวงอาทิตย์มีรังสี หลายอย่าง รังสีที่อันตรายที่สุดได้แก่ รังสีอุลตราไวโอเลตบี (UV-B) ประมาณว่าถ้าปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ ที่ครอบคลุมโลกลดลงหนึ่งเปอร์เซนต์ จะทำ ให้รังสีอุลตราไวโอเลตผ่านมาถึงพื้นโลก ได้มากขึ้นถึงสองเปอร์เซนต์ ซึ่งมีผลกระทบ กระเทือนสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก
ต้นเหตุที่ทำให้ปริมาณโอโซนลดน้อยลง เป็น สารเคมีกลุ่มหนึ่งที่ใช้ในผลิตภัณฑ์หลายอย่าง ในครอบครัวและอุตสาหกรรมชื่อว่า คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ ซีเอฟซี เป็นสารที่คงตัว ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สูญหาย ค่อย ๆลอยขึ้นไปบนฟ้า กว่าจะถึงบรรยากาศชั้นบนก็กินเวลาหลายปี ซีเอฟซีถูกรังสีอุลตราไวโอเลตจะสลายตัวได้ธาตุคลอรีน ฟลูออรีนและคาร์บอน ธาตุคลอรีนนี้เอง จะทำลายโอโซน
ในชีวิตประจำวันของเราใช้สารซีเอฟซีหลายอย่าง
•พื้นรองเท้าอาจทำด้วยสารนี้
•นั่งในรถยนต์ หนุนหมอนและนอนบนที่นอนที่ทำด้วยโฟมจากสารซีเอฟซี
•กินอาหารที่ บรรจุมาใน กล่องโฟม
•นั่งในบ้านหรือที่ทำงานที่ใช้สารนี้เป็นน้ำยาในเครื่องปรับอากาศ
•ใช้ตู้เย็นที่ใช้สารซีเอฟซี เป็นสารทำความเย็น
•ใช้คอมพิวเตอร์และดูโทรทัศน์ที่ต้องใช้สารนี้ในขบวนการผลิต
•ใช้เครื่องมือแพทย์ที่ใช้สารซีเอฟซีช่วยในการฆ่าเชื้อ
•ใช้สเปรย์ที่ใช้สารนี้เป็นสารขับเคลื่อน
มีผู้แนะนำว่า ควรจะใช้สารอื่นแทนซีเอฟซี แต่เนื่องจากสารนี้มีคุณสมบัติดี หลายประการ ได้แก่ คงทน ไม่ทำให้เป็นสนิม ไม่ติดไฟ จึงยังไม่อาจหาสารใดมา ทดแทนได้ดีเท่า กว่าผู้นำทาง อุตสาหกรรมจะค้นคว้าหาสารอื่นมาใช้แทน สารซีเอฟซี สารซีเอฟซีที่ใช้กันปัจจุบันคงจะมีผล ต่อเนื่องสามารถทำลายโอโซนใน บรรยากาศ ต่อไปอีกในสิบปีข้างหน้า การแก้ปัญหานี้จะต้องช่วยกันหลายฝ่ายและร่วมมือกันเป็นเวลานาน
ภัยจากรังสีอุลตราไวโอเลต
ผลผลิตจากากรเกษตรลดน้อยลง : สัตว์และพืชเซลล์เดียว จะดูดซับรังสีมากขึ้น พืชเซลล์ เดียว เป็นอาหารของสัตว์น้ำซึ่งเป็นอาหารโปรตีนสำคัญของชาวโลก ทางออกได้รับรังสี อุลตราไวโอเลตนี้มากขึ้น จะทำให้การสังเคราะห์แสง ลดลง จากการ ทดลองพบว่าพืชหลาย ชนิด เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี และถั่วเหลืองจะเติบโตช้า ได้ผลต่ำลง และมีสารอาหารน้อยลง ในขณะเดียวกัน วัชพืชที่ได้รับแสง อุลตราไวโอเลตจะเติบโต อย่างรวดเร็ว

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม


ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางการป้องกันแก้ไขที่ดี
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังประสบอยู่ในปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ และปัญหาของระบบนิเวศ ซึ่งปัญหาที่สำคัญเหล่านี้มาจากปัญหาย่อยๆหลายปัญหา เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่รีบป้องกันแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน
มลพิษทางสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น น้ำ อากาศ ดิน เป็นต้น มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้มากมาย แต่การใช้ประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทำให้เกิดมลพิษขึ้นในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ
มลพิษทางสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาวะที่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติถูกปะปนหรือปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม หรือสารมลพิษ ทำให้มีลักษณะหรือสมบัติแตกต่างไปจากเดิมหรือจากธรรมชาติ โดยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง ยังผลให้ใช้ประโยชน์ได้น้อยหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย และมีผลเสียต่อสุขภาพ
มลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และมลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
มลพิษทางน้ำ
มลพิษทางน้ำ (Water pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหามลพิษอื่นๆปัญหามลพิษทางน้ำมักเกิดกับเมืองใหญ่ๆแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและสารมลพิษต่างๆทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
สาเหตุของการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำทิ้งจากที่อยู่อาศัย ซึ่งมักจะมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนมาด้วย น้ำทิ้งดังกล่าวมักเป็นสาเหตุของการที่น้ำมีสีดำ และมีกลิ่นเน่าเหม็น น้ำที่มีสารพิษตกค้างอยู่ เช่น น้ำจากแหล่งเกษตรกรรมที่มีปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช น้ำทิ้งที่มีโลหะหนักปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สารเหล่านี้จะถูสะสมในวงโคจรโซ่อาหารของสัตว์น้ำ และมีผลต่อมนุษย์ภายหลัง
ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ
น้ำที่อยู่ในระดับรุนแรง ซึ่งประชาชนทั่วไป เรียกว่า น้ำเสีย มีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน คือตะกอนขุ่นข้น สีดำคล้ำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ก่อให้เกิดความรำคราญต่อชุมชน และอาจมีฟองลอยอยู่เหนือน้ำเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของน้ำเสียบางครั้งเราอาจมองไม่เห็นก็ได้ ถ้าน้ำนั้นปนเปื้อนด้วยสารพิษ เช่น ยาปราบศัตรู หรือยาฆ่าแมลง แร่ธาตุ เป็นต้น