วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558


สาเหตุและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่มากมาย แต่ที่สําคัญมี 2 ประการ คือ
1. การเพิ่มของประชากร (Population Growth) โดยเฉลี่ยประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มสูงมาก ขึ้น ถึงแม้ว่าการรณรงค์เรื่องการวางแผนครอบครัวจะได้ผลดี แต่ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยัง เป็นการเติบโตแบบเอกซ์โพเนนเชียล (Exponential Growth) ซึ่งเป็นการเพิ่มในอัตราทวีคูณ เมื่อผู้คน มากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน ฯลฯ
จากการคาดคะเนการเพิ่มจํานวนประชากรโลกซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดูข้อมูลในภาพที่ 4-1)
ทําให้ความต้องการปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดํารงชีวิตเพิ่มตาม คาดว่า ปัญหาต่าง ๆ จะตามมาอย่างรวด เร็วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สวัสดิการอื่น ๆ การ ประกอบอาชีพ ฯลฯ ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าวิตกยิ่งสําหรับประเทศที่ประชากรมี แนวโน้มเพิ่มสูงมาก จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางลดความตึงเครียดลงก่อนที่จะถึงซึ่ง ภาวะวิกฤติในอนาคต
 2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) การขยายตัวทางเศรษฐกิจทําให้มาตรฐานในการดํารงชีวิตสูงตามไปด้วย มี การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเกินความจําเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต จึงจําเป็นต้องใช้ พลังงานมาก ขึ้ นตามไปด้วย ในขณะเดี ยวกั นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ก็ ช่วยเสริมให้ การนํา ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ทําได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว มีผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ที่ อยู่อาศัย การสาธารณสุข การศึกษา การว่างงาน ฯลฯ ปํญหาเหล่านี้พบมากในประเทศด้อยพัฒนา ประเทศเหล่านี้จําเป็นต้องเร่งพัฒนาด้วยการเร่งการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรมและการ อุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงถูกนํามาใช้ในการเกษตรรวมทั้งปุ๋ยเคมี ยา ปราบศัตรูพืช ฯลฯ สารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกปล่อยออกมาในรูปควันเสีย ฝุ่นละออง ทําให้ เกิดภาวะอากาศเป็นพิ ษ เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิ ษทางเสียง ของเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรมและจากเกษตรกรรมถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ทําใหเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ นอก จากนี้ทรัพยากรธรรมชาติยังถูกนํามาใช้อย่างรวดเร็วและมากมาย เป็นผลให้ สภาพแวดล้อม เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทําลายป่า ทําให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล การทําลายหน้าดินทําให้เกิดปัญหาน้ำ ท่วม แร่ธาตุต่าง ๆ ถูกนํามาใช้เป็นจํานวนมหาศาล กระบวนการในการเปิดป่า ทําเหมือง และขั้น ตอนของการทําเหมือง ล้วนแล้วแต่มีสวนในการทําลายสภาวะแวดล้อมตาม ธรรมชาติอย่างน่าเสีย ดาย มนุษย์เป็นตัวการสําคัญในการเพิ่มพูนภาวะมลพิษให้แก่ระบบนิเวศ ความเจริญทาง เทคโนโลยียิ่งมีมากขึ้นเท่าไร ปัญหาการสร้างความสกปรกให้แก่สภาพแวดล้อมดูเหมือนจะยิ่งทวีมาก ขึ้นเท่านั้น นับตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อคริตส์ศตวรรษที่ 18 โรงงานอุตสาหกรรมกลายเป็น แหล่งถ่ายเทและปล.อยของเสียให้แก่สภาพแวดล้อมเรื่อยมาและมากขึ้นเป็นลําดับ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยจํากัดที่สําคัญของมนุษย์ เพราะเป์นตัวการทําลายมนุษย์ เอง ในประเทศที่พัฒนาแล้วสิ่งแวดล้อมที่ถือว่าอยู่ในสภาพที่เป์นพิษต่อประชากร มักเกิดจากสารเคมี อากาศเสีย และน้ำเป็นพิษ ส่วนปัญหาเดียวกันนี้ในประเทศด้อยพัฒนาเกิดเนื่องจากการขาดแคลน อาหารและทรัพยากรธรรมชาติ
จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทําให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง อันเกิดจากปัญหา สิ่งแวดล้อมที่สําคัญ 2 ประการ คือ (ดูภาพที่ 4-2 ประกอบ)
1. ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่า ไม่ถูกทําลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การขาดแคลนน้ำ ฯลฯ
2. ภาวะมลพิษ (Pollution) เช.น มลพิษทางน้ำ อากาศ ดิน เสียง และความร้อน ฯลฯ อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง

  ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สาเหตุของมลพิษเป็นผลจากการกระทําของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เนื่อง จากมนุษย์ซึ่งเป์นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของธรรมชาติมีการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วและมนุษย์ มี บทบาทที่แตกต่างไปจากธรรมชาติอื่นในหลายกรณี กล่าวคือเมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ความ ต้องการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเพื่อใช้เป็นปัจจัยในการดํารงชีวิตและสร้างสิ่งอํานวย ความ สะดวกก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น มนุษย์มีความสามารถในการนําเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ ทําการเกษตร การประมง สร้างเมือง สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ สร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสิ่ง ต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เรือ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทําให้เกิดความไม่สมดุลในธรรมชาติ ก่อ ให้เกิดปัญหารุนแรงทางด้านสิ่งแวดล้อมและรวมเรียกปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ปัญหามลพิษ ซึ่งมีหลาย ลักษณะหลายประเภท ล้วนแต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ได้ ดังนั้นหากมนุษย์ไม่มีจิต สํานึกร่วมกันในการแก้ไขและรักษาสภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้มนุษย์เราต้อง ประสบปัญหาในอนาคตมากขึ้นอย่างแน่นอน

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ผลกระทบของสิ่งแวดล้อม


             มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ดังนั้นการกระทำของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ดังนี้
            1.  มลพิษทางอากาศ  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อากาศเป็นพิษ  หมายถึง สภาพอากาศที่มีสารอื่นเจือปน
มาก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิตคน สัตว์  พืชและสภาวะแวดล้อมอื่นๆ สารเหล่านี้ ได้แก่ เขม่า ควัน ฝุ่นละออง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสารเหล่านี้ถ้าสะสมมากๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนัง มะเร็ง หรือเกิดอาการเวียนศีรษะแหล่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ได้แก่ การคมนาคม การเผาขยะ การก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดฝุ่นและควันเข้าสู่อากาศที่เราหายใจเข้าไป
            2.  มลพิษทางน้ำ  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า น้ำเสีย สิ่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำนั้นเกิดจากการที่มีการทิ้งของเสียลงในแม่น้ำลำคลอง ทั้งที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม สถานบริการ การประกอบอาชีพต่างๆ หรือจากอาคารบ้านเรือน นอกจากนี้ยังมีการทิ้งขยะมูลฝอยลงในแหล่งน้ำ หรือลงในแม่น้ำลำคลอง ทำให้เกิดน้ำเสียเป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรคทำลายสุขภาพ น้ำมีกลิ่นเหม็น สัตว์น้ำเสียชีวิต และทำลายความสวยงามและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
            3.  มลภาวะทางดิน  หมายถึง การที่ดินเกิดความเสียหายจากการกระทำของมนุษย์เองส่วนใหญ่มักจะเป็นกิจกรรมทางการเกษตร ได้แก่การใช้ยาฆ่าแมลง การใช้ปุ๋ยเคมี หรือการปลูกพืชโดยไม่มีการบำรุงรักษาดิน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากน้ำเสีย หรือการทิ้งฝังขยะมูลฝอย  
            4.  มลภาวะทางเสียง  เป็นลักษณะของเสียงที่ดังมากจนเกินไป ทำให้เกิดความรำคาญหรือบางทีอาจเป็นอันตรายต่อหู เสียงเหล่านี้เกิดจากยานพาหนะ เสียงเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
                                                            

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
             ปัญหาสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งก่อให้เกิดผลทางลบกระทบต่อคนเรา ทำให้การดำเนินชีวิตของเราผิดปกติไปปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มักพบบ่อยๆ  ในท้องถิ่น คือ
            1.  น้ำเสีย  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก และมักพบได้ในท้องถิ่นที่เป็นชุมชนใหญ่ หรือมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ สภาพของน้ำเสียหมายถึง สภาพน้ำที่มีระดับออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อย มีสัดส่วนของแบคทีเรียมาก บางครั้งจะมีสารพิษเจือปนอยู่ มีสภาพกลิ่นเหม็น สีดำ มีขยะลอย ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้น้ำเสียเกิดจากการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจากครัวเรือน หรือจากการทำการเกษตร ที่ไม่ผ่านระบบกำจัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยลงไปสู่แหล่งน้ำต่างๆ ทำให้น้ำในแหล่งน้ำต่างๆ
    
            2.  ปัญหาน้ำท่วม  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบอยู่ตามท้องถิ่นที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม อยู่ใกล้แม่น้ำ หรืออยู่ชายฝั่งทะเลซึ่งบริเวณพื้นที่เหล่านี้มักจะมีระบบระบายน้ำไม่ดี เมื่อเวลาฝนตกหนักน้ำไหลบ่าก็จะทำให้เกิดมีน้ำท่วมขัง ซึ่งจะก่อความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ  ถ้าเป็นแหล่งที่มีการเกษตรกรรมจะทำให้พืชผลเสียหายในขณะที่มีน้ำท่วมขังอยู่ แต่เมื่อหลังน้ำลดแล้วมักจะเกิดโรคต่างๆ  เกิดขึ้นตามมา สาเหตุของการเกิดน้ำท่วมมักมีหลายสาเหตุ คือ การตัดไม้ทำลายป่าบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้การดูดซับหรือการชะลอน้ำทำได้น้อย การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ถนน ขวางเส้นทางของน้ำ ถ้าในบริเวณชายฝั่งทะเลก็จะเกิดจากการหนุนของน้ำทะเล หรืออาจเกิดจากฝนที่ตกหนักจนระบายน้ำไม่ทัน
            3.  ปัญหาภัยแล้ง  เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมักพบในท้องถิ่นที่อยู่นอกตัวเมืองหรือชนบทที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนที่ตกลงมาอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ไม่มีระบบน้ำประปา สภาพภัยแล้งเกิดจากความชุ่มชื้นในอากาศมีน้อยและในดินมีน้ำน้อยเนื่องจากฝนไม่ตกหรือทิ้งช่วงเป็นเวลานาน จะเป็นเหตุให้มีระดับน้ำตามแหล่งน้ำที่ผิวดินที่เป็นแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงมีน้ำน้อย ไม่พอพียงแก่การนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค หรือทำการเกษตร
     

            4.  ปัญหาดินถล่ม  เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มักพบอยู่ในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ตามเชิงเขา ดินถล่มหรือโคลนถล่มมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนตกหนัก ที่น้ำจากภูเขาไหลบ่าพัดเอาดินเอาโคลนมากองรวมกันไว้มากๆ และเมื่อถึงระดับหนึ่งซึ่งบริเวณที่รองรับทนน้ำหนักไม่ไหว เกิดการถล่มลงมาของกองดินหรือโคลน ซึ่งถ้าในบริเวณนั้นมีการตั้งบ้านเรือนอยู่ ก็จะเกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หรือบางครั้งเกิดจากการตัดต้นไม้บนพื้นที่ภูเขาและไหล่เขา เมื่อเกิดฝนตกหนักไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่จะยึดดินไว้ทำให้เกิดดินถล่ม
            5. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและไฟป่า  เป็นปัญหาที่พบในท้องถิ่นต่างๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ก็มักจะมีการลักลอบทำลายป่าไม้อยู่เนืองๆ  นอกจากนี้ไฟป่าก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลงและทำลายความสมดุลของธรรมชาติ และการตัดไม้ทำลายป่าทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ  ตามมา เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาดินโคลนถล่ม ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาแหล่งน้ำตื้นเขิน เป็นต้น
           

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

ปัญหาความรุนเเรงของสิ่งแวดล้อม

ปัญหาความรุนเเรงของสิ่งแวดล้อม
การรวมตัวกันอย่างหนาแน่นของแก๊ส จากการอุตสาหกรรม และควันพิษที่เกิด ขึ้นในอากาศที่พวกเราหายใจ เข้าไป ได้สั่งสมเพิ่มพูน สูงถึงบรรยากาศชั้นบน สิ่งนี้ได้ก่อ ให้เกิดวิกฤตการณ์พร้อมกันทีเดียว 3 อย่าง อันได้แก่ ฝนกรด ชั้นโอโซนถูกทำลาย และเกิดอากาศร้อนขึ้นทั่วโลก หรือเป็นตัวการก่อให้เกิด "ปรากฏการณ์เรือนกระจก"
แต่ละอย่าง ที่กล่าวมา แล้วนั้นสามารถก่อให้เกิดผลที่เป็น อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตจนทำให้ถึงตายได้ยิ่ง เมื่อทั้ง 3 ปรากฏการณ์ มารวมกันแล้ว มันสามารถคุกคามโลกได้มากเท่า ๆ กับสงครามนิวเคลียร์เลย ทีเดียว
ก๊าซที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทั้ง 3 อย่าง ได้แก่
- ซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์
- ไนโตรเจนอ๊อกไซด์
- คาร์บอนไดอ๊อกไซด์
- คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFCS)
ภาวะเรือนกระจก หมายถึง ภาวะที่แสงอาทิตย์ผ่านลงมาและ ก๊าซคาร์บอน ไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่น ๆ ที่พอกพูนอยู่ในบรรยากาศระดับต่ำ จะตัดความร้อนเอาไว้ ไม่ให้สะท้อนออกไป ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เหมือนกับ เรือนกระจก ที่ใช้ปลูกต้นไม้ในเมืองหนาว
ก๊าซที่พบในเรือนกระจก ได้แก่
•คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน แก๊ส) ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และควัน จากยานพาหนะ
•ก๊าซมีเธน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ โดยการกระทำของของแบคทีเรีย มักเกิดในที่มีน้ำขัง ท้องนาที่น้ำท่วมขัง ลมหายใจของวัวและตัวปลวก การเผาฟืนและป่าไม้ มีระดับการเพิ่มราวหนึ่งเปอร์เซนต์ทุก ๆ ปี ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
•ก๊าซคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ซึ่งใช้เป็นน้ำยาทำความเย็นใช้ทำความสะอาดและใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับทำโฟมพลาสติก เพิ่มขึ้น ปีละราว 5 เปอร์เซ็นต์
•ก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก๊าซส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากปุ๋ย ซึ่งมีไนโตรแจนเป็นส่วนผสมสำคัญ นอกจากนี้ยังเกิดจากการเผาถ่านหิน และเชื้อเพลิงที่เป็น ฟอสซิลอื่น ๆ รวมทั้งน้ำมันเบนซินด้วย
ก๊าซต่าง ๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติสามารถดูดซับรังสีอินฟาเรด (รังสีที่มองไม่เห็น ปกติจะทำหน้าที่นำเอาความร้อน ส่วนเกินจากโลกขึ้นสู่อวกาศ) ได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านส่วนประกอบทางเคมีของบรรยากาศ ประมาณว่า ถ้าก๊าซเหล่านี้ มีปริมาณมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นตัวเร่งที่ทำให้อากาศร้อนยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ผลกระทบจากภาวะเรือนกระจก
•ความร้อนของอากาศที่มีอยู่ในโลกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
•ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ส่งผลต่อประเทศที่เป็นหมู่เกาะและชายฝั่งทวีป ตลอดจนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใช้สำหรับเป็นที่ผลิตอาหารจะจมอยู่ใต้ทะเล
•ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะรุนแรงมากขึ้น เช่น ความรุนแรงของพายุจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิพื้นผิวหน้าของทะเล ถ้าอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นอีก ความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนจะเพิ่มขึ้นอีก 40-50 %
ฝนกรด ฝนกรดเกิดจากชั้นบรรยากาศที่ถูกมนุษย์ปล่อยสิ่งสกปรกไป สะสมไว้ที่ชั้น บรรยากาศ เช่น ควัน เขม่า ละอองไอเสีย ก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรม จากเครื่องยนต์ ซึ่งก๊าซบางอย่างไปรวมตัวกับน้ำในบรรยากาศ ทำให้เกิดกรดขึ้น เช่น ซึ่งกรดทั้ง 3 ตัวนี้เป็นกรดแก่ ทำให้น้ำฝนเป็นกรด
ผลกระทบจากฝนกรด
•ผู้ที่ใช้น้ำฝนเป็นน้ำดื่ม น้ำใช้ จะมีผลต่อสุขภาพเพราะฝนกรดเหล่านี้อาจทำให้เกิดพิษภัย ต่อผู้บริโภค เช่น ทำให้เป็นโรคกระเพาะ เป็นมะเร็ง อันเนื่องมาจากกรดซัลฟูริค เป็นต้น
•ฝนกรดจะทำลายธาตุอาหารบางชนิดในดิน เช่น ไนเตรต ฟอสเฟต ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเพาะปลูก เช่นปลูกพืชผักไม่ขึ้น ได้ผลผลิตน้อยกว่าปกติ เพราะฝนกรดทำให้ดินเปรี้ยว จุลินทรีย์หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ถูกทำอันตรายต่อความ เป็นกรดทั้งสิ้น พืชต้องอาศัย จุลินทรีย์จากดิน เช่น สารอินทรีย์โมเลกุล ใหญ่จะต้องถูกสลายให้เป็นโมเลกุลเล็ก พืชจึงจะดูดเข้าไปใช้ได้ หรือพืชจะต้องอาศัยอนุมูลแอมโมเนียที่จุลินทรีย์ดึงมาจากอากาศ ดังนั้น การที่มีกรดในน้ำฝนจึงลดความเจริญของจุลินทรีย์ในดิน ยังผลกระทบกระเทือนไปถึงพืชอีกด้วย
•ฝนกรดทำลายวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด คือ จะกัดกร่อนทำลายพวกโลหะ เช่น เหล็กเป็นสนิมเร็วขึ้น สังกะสีมุงหลังคาที่ใกล้ ๆ โรงงานจะ ผุกร่อนเร็ว สังเกตได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้แอร์ ตู้เย็น หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ปูนซีเมนต์หมดอายุเร็วขึ้น ผุกร่อนเร็วขึ้น เป็นต้น
•ฝนกรดจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปู หอย กุ้งสูญพันธุ์ไปได้ เพราะ ฝนกรดที่เกิดจากก๊าซซัลเฟอร์ไดอ๊ออกไซด์และเกิดจากก๊าซไนโตรเจนอ๊อกไซด์ พวกนี้จะทำให้น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบกลายเป็นกรด ทำให้สัตว์น้ำดังกล่าวตาย เช่น อเมริกาตอนกลาง ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำลดลง ทำให้ทะเลสาบ 85 แห่งไม่มีปลา และทะเลสาบในประเทศวีเดน 15,000 แห่ง ไม่มีปลา และนับวันจะปราศจากปลามากขึ้น ทะเลสาบางแห่ง ป้องกันฝนกรดได้ เพราะในทะเลสาบนั้นมีสารพวกไบคาร์บอเนตละลายอยู่ หรือบางแห่งมีธาตุทางธรณีวิทยา
ชั้นโอโซนรั่ว เมื่อปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ศึกษาบรรยากาศเหนือขั้วโลกใต้ พบว่าปริมาณโอโซนที่ ครอบคลุมโลกชั้นสูงประมาณ 10-15 ไมล์ มีปริมาณ ลดลงอย่างน่าวิตก เหลือเพียง 1 ใน 3 ของระดับปกติ หลายคนอ่านข่าวนี้แล้วผ่าน เลยไป คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ประเทศไทยอยู่ห่างขั้วโลกเหลือเกิน ไม่น่าจะมี ผลกระทบกระเทือนมาถึง จึงไม่ต้องวิตกกังวล นับว่าเป็นความคิดที่ผิด แม้ช่องโหว่ ของโอโซนจะเกิดขึ้นแถบขั้วโลกใต้ ก็มีผลต่อชาวโลกทุกคน และผู้บริโภคทุกคนอาจ จะช่วยกันแก้ไขให้ปัญหานี้ลดลงได้ หากละเลยไม่ช่วยกันแก้ไขเสียตั้งแต่บัดนี้ เพียงชั่วลูกหลาน ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้น
โอโซน เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยอ๊อกซิเจนสามอะตอม ในบรรยากาศเหนือโลก ชั้น โอโซนที่ ครอบคลุมโลกช่วยป้องกันรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มิให้มาถึงโลก มากเกินไป
บนพื้นโลก โอโซนเป็นก๊าซเสียจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม โอโซนบนผิวโลก ไม่อาจลอยขึ้นไปทดแทนบรรยากาศชั้นบน ได้แต่วนเวียนอยู่บน พื้นโลก เพียงไม่กี่วัน ก็สลายตัวกลายเป็น อ๊อกซิเจน
โอโซนส่วนใกล้พื้นดินนี้มีน้อย เกินไป และไม่ช่วยป้องกัน รังสีอุลตราไวโอเลต ในแสงจากดวงอาทิตย์มีรังสี หลายอย่าง รังสีที่อันตรายที่สุดได้แก่ รังสีอุลตราไวโอเลตบี (UV-B) ประมาณว่าถ้าปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ ที่ครอบคลุมโลกลดลงหนึ่งเปอร์เซนต์ จะทำ ให้รังสีอุลตราไวโอเลตผ่านมาถึงพื้นโลก ได้มากขึ้นถึงสองเปอร์เซนต์ ซึ่งมีผลกระทบ กระเทือนสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก
ต้นเหตุที่ทำให้ปริมาณโอโซนลดน้อยลง เป็น สารเคมีกลุ่มหนึ่งที่ใช้ในผลิตภัณฑ์หลายอย่าง ในครอบครัวและอุตสาหกรรมชื่อว่า คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ ซีเอฟซี เป็นสารที่คงตัว ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สูญหาย ค่อย ๆลอยขึ้นไปบนฟ้า กว่าจะถึงบรรยากาศชั้นบนก็กินเวลาหลายปี ซีเอฟซีถูกรังสีอุลตราไวโอเลตจะสลายตัวได้ธาตุคลอรีน ฟลูออรีนและคาร์บอน ธาตุคลอรีนนี้เอง จะทำลายโอโซน
ในชีวิตประจำวันของเราใช้สารซีเอฟซีหลายอย่าง
•พื้นรองเท้าอาจทำด้วยสารนี้
•นั่งในรถยนต์ หนุนหมอนและนอนบนที่นอนที่ทำด้วยโฟมจากสารซีเอฟซี
•กินอาหารที่ บรรจุมาใน กล่องโฟม
•นั่งในบ้านหรือที่ทำงานที่ใช้สารนี้เป็นน้ำยาในเครื่องปรับอากาศ
•ใช้ตู้เย็นที่ใช้สารซีเอฟซี เป็นสารทำความเย็น
•ใช้คอมพิวเตอร์และดูโทรทัศน์ที่ต้องใช้สารนี้ในขบวนการผลิต
•ใช้เครื่องมือแพทย์ที่ใช้สารซีเอฟซีช่วยในการฆ่าเชื้อ
•ใช้สเปรย์ที่ใช้สารนี้เป็นสารขับเคลื่อน
มีผู้แนะนำว่า ควรจะใช้สารอื่นแทนซีเอฟซี แต่เนื่องจากสารนี้มีคุณสมบัติดี หลายประการ ได้แก่ คงทน ไม่ทำให้เป็นสนิม ไม่ติดไฟ จึงยังไม่อาจหาสารใดมา ทดแทนได้ดีเท่า กว่าผู้นำทาง อุตสาหกรรมจะค้นคว้าหาสารอื่นมาใช้แทน สารซีเอฟซี สารซีเอฟซีที่ใช้กันปัจจุบันคงจะมีผล ต่อเนื่องสามารถทำลายโอโซนใน บรรยากาศ ต่อไปอีกในสิบปีข้างหน้า การแก้ปัญหานี้จะต้องช่วยกันหลายฝ่ายและร่วมมือกันเป็นเวลานาน
ภัยจากรังสีอุลตราไวโอเลต
ผลผลิตจากากรเกษตรลดน้อยลง : สัตว์และพืชเซลล์เดียว จะดูดซับรังสีมากขึ้น พืชเซลล์ เดียว เป็นอาหารของสัตว์น้ำซึ่งเป็นอาหารโปรตีนสำคัญของชาวโลก ทางออกได้รับรังสี อุลตราไวโอเลตนี้มากขึ้น จะทำให้การสังเคราะห์แสง ลดลง จากการ ทดลองพบว่าพืชหลาย ชนิด เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี และถั่วเหลืองจะเติบโตช้า ได้ผลต่ำลง และมีสารอาหารน้อยลง ในขณะเดียวกัน วัชพืชที่ได้รับแสง อุลตราไวโอเลตจะเติบโต อย่างรวดเร็ว

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม


ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางการป้องกันแก้ไขที่ดี
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังประสบอยู่ในปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ และปัญหาของระบบนิเวศ ซึ่งปัญหาที่สำคัญเหล่านี้มาจากปัญหาย่อยๆหลายปัญหา เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่รีบป้องกันแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน
มลพิษทางสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น น้ำ อากาศ ดิน เป็นต้น มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้มากมาย แต่การใช้ประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทำให้เกิดมลพิษขึ้นในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ
มลพิษทางสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาวะที่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติถูกปะปนหรือปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม หรือสารมลพิษ ทำให้มีลักษณะหรือสมบัติแตกต่างไปจากเดิมหรือจากธรรมชาติ โดยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง ยังผลให้ใช้ประโยชน์ได้น้อยหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย และมีผลเสียต่อสุขภาพ
มลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และมลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
มลพิษทางน้ำ
มลพิษทางน้ำ (Water pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหามลพิษอื่นๆปัญหามลพิษทางน้ำมักเกิดกับเมืองใหญ่ๆแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและสารมลพิษต่างๆทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
สาเหตุของการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำทิ้งจากที่อยู่อาศัย ซึ่งมักจะมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนมาด้วย น้ำทิ้งดังกล่าวมักเป็นสาเหตุของการที่น้ำมีสีดำ และมีกลิ่นเน่าเหม็น น้ำที่มีสารพิษตกค้างอยู่ เช่น น้ำจากแหล่งเกษตรกรรมที่มีปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช น้ำทิ้งที่มีโลหะหนักปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สารเหล่านี้จะถูสะสมในวงโคจรโซ่อาหารของสัตว์น้ำ และมีผลต่อมนุษย์ภายหลัง
ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ
น้ำที่อยู่ในระดับรุนแรง ซึ่งประชาชนทั่วไป เรียกว่า น้ำเสีย มีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน คือตะกอนขุ่นข้น สีดำคล้ำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ก่อให้เกิดความรำคราญต่อชุมชน และอาจมีฟองลอยอยู่เหนือน้ำเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของน้ำเสียบางครั้งเราอาจมองไม่เห็นก็ได้ ถ้าน้ำนั้นปนเปื้อนด้วยสารพิษ เช่น ยาปราบศัตรู หรือยาฆ่าแมลง แร่ธาตุ เป็นต้น

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

สิ่งแวดล้อมในชุมชน


เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มนุษย์ก็จะรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม สร้างบ้านเรือนแหล่งที่อยู่อาศัย ทำไร่ทำนาเลี้ยงสัตว์ มีกิจกรรมร่วมกัน และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มในลักษณะนี้เรียกว่าชุมนุมชน
ภายหลังจากที่มนุษย์รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม โดยเลือกสถานที่ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยแล้ว มนุษย์ก็ได้เริ่มจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวมนุษย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการดำรงชีพ ความสะดวกสบาย ในความเป็นอยู่และความปลอดภัยในชีวิต สิ่งรอบ ๆ ตัวที่มนุษย์เข้าไปจัดการนั้น บางครั้งมนุษย์แสวงหามาเอง บางครั้งสร้างให้มันเกิดขึ้น และบางครั้งก็ตกแต่ง ดัดแปลงปรับปรุง และใช้ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่เองนั้น ในลักษณะที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของชุมชน
สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ล้อมรอบตัวมนุษย์ภายในบริเวณชุมนุมชนมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาไว้ในชุมชน รวมเรียกกันว่า "สิ่งแวดล้อมชุมชน" อาจจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ อาจจะเป็นสิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้แต่ทุกอย่างจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันเป็นวงจร

สิ่งแวดล้อมในชุมนุมอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้น ดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้และสัตว์อื่น ๆ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอด จนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นชุมชน โดยมีขนบธรรมเนียบประเพณี ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นและข้อจำกัดทางธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เพื่อให้เกิดการดำรงชีวิตอย่างผาสุกและเสริมสร้างคุณภาพแห่งชีวิต
ในแต่ละชุมชนก็จะมีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ทัศนคติ และนิสัยใจคอของผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชนด้วย เช่น บางแห่งอาจอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ บางแห่งอาจมีความกว้างใหญ่ไพศาลของทะเลและบางแห่งก็สลับซับซ้อนด้วยทิวเทือกเขา มีภูเขามาก สิ่งแวดล้อมในบางแห่งเหมาะที่จะใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว บางแห่งก็เหมาะที่จะใช้ทำการเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งแต่ละชุมชนต่างได้รับประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ตามลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ และโดยความเป็นจริงแล้วสิ่งแวดล้อมได้ให้ประโยชน์แก่คนในชุมชนนั้นอย่างมากมายมหาศาล เราใช้สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยในการประกอบอาชีพ ให้เป็นกฎเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของสังคม ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งรวมของความสวยงามตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งที่เราสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติได้