วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โรงเรียนสิ่งเเวดล้อม


โรงเรียนสิ่งเเวดล้อม
 สิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกระบวนการเสริมสร้างให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมกับชีวิตมีความสำคัญในด้านการเป็นความรู้พื้นฐานของการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันในชุมชน สังคม ประเทศ และโลก รวมถึงเป็นปัจจัยที่ช่วยให้บุคคลเกิดความตระหนักอย่างลึกซึ้งจนเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางอันเกื้อกูลต่อการพัฒนาตามครรลองของการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโดยใช้กลไกด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษานับว่ามีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งแวดล้อมศึกษาคือการศึกษาตลอดชีวิต (Life-long  Learning)                ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ทุกประเภททั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและการเรียนรู้ตามธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันตามอัธยาศัย ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนพลเมือง ทุกเพศ ทุกวัย ในทุกภาคส่วนของสังคมตามเจตนารมณ์ และจุดมุ่งหมายบทบัญญัติกฎหมายหลายฉบับ
โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาจึงนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม  โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในการเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาจิตสำนึก และเจตคติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน

1. โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ อะไร
21 150x150 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school โรงเรียนที่มีการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนของโรงเรียนเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้  ความเข้าใจ  ความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นและของโลก  และพร้อมที่เข้าไปมีบทบาทในกระบวนการ อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


2. แนวคิดสำคัญในการพัฒนาโครงการโรงเรียน  Eco-school
โลกใบนี้อยู่ในภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อม  ความท้าทายสำคัญของการจัดการศึกษาจึงไม่ใช่การสร้างพลเมืองได้มีความรู้ความสามารถไปประกอบอาชีพ  และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่  แต่ควรเป็นการสร้างพลเมืองที่จะสามารถปรับตัวและสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้คนในสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
แนวคิดของอีโคสคูลจึงมองเห็นเป้าหมายของการจัดการศึกษา  คือ  การสร้างเด็กให้เติบโตเพื่อไปเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  มองเห็นความซับซ้อนของปัญหาความเชื่อมโยงกันของมิติทางเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  การเมืองและวัฒนธรรม  และที่สำคัญ  คือ  พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติ ให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่ลังเลชักช้า
ดังนั้น  การเรียนรู้ของเด็กนักเรียนจึงไม่สามารถจำกัดกรอบอยู่เพียงในตำราหรือห้องเรียน  แต่ควรเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว  มีเรื่องราวและปัญหาของท้องถิ่นเป็นโจทย์ในการเรียนรู้  โดยสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค  ระดับประเทศและระดับโลก
เมื่อเยาวชนเหล่านี้เติบโตกระจายอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ และในสาขาอาชีพต่างๆก็สามารถผนึกเป็นพลังที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ได้

3. หลักการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา
หลักการ  ” การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ” หรือ whole  school  approach  for  Environmental  education  เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน  อันประกอบด้วยพันธกิจ ๔ ด้าน  เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้วิเคราะห์  และพัฒนา  และบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการสร้าง  “ พลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม ”
3 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
           นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ   ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนพันธกิจด้านอื่นๆ  ให้ประสบความสำเร็จหรือพัฒนาโรงเรียนได้ทั้งระบบ ซึ่งเป็นพันธกิจที่ขึ้นตรงกับผู้บริหารเป็นสำคัญ
           การจัดกระบวนการเรียนรู้   เป็นพันธะกิจที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่โรงเรียนและตัวนักเรียน    ดำเนินการโดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลาง   ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของทรัพยากรธรรมชาติ  เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมของชุมชนที่นักเรียนอาศัย
การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม   จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน  จัดการเรียนรู้  “ ทางอ้อม ”  ให้กับผู้เรียน   เป็นตัวอย่างและต้นแบบที่เป็น  “ วิถีปฏิบัติ ”  ปกติในโรงเรียนให้ขยายผลไปสู่บ้านและชุมชนของนักเรียนได้
การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา   เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของเด็กทั้งบุคลากรฝ่ายต่างๆในโรงเรียน  และระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน   และโรงเรียนกับชุมชนภายนอก

4. อยากพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน  Eco-school  จะต้องทำอย่างไร
4 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
 ๑.     ทำความเข้าใจเรื่อง  “ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ”
๒.     กำหนดคุณลักษณะที่อยากเห็นในตัวผู้เรียนตามบริบทโรงเรียน
๓.     พร้อมใจก้าวไปด้วยกันทั้งโรงเรียนและชุมชน
5 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นอีโคสคูล นั้น    จะให้ความสำคัญกับการ  “ ต่อยอด ” หรือ “ ปรับ/พัฒนา ” งานเดิมที่โรงเรียนมีอยู่แล้วให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
๑.      สำรวจต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนจากกรอบพันธกิจ ๔ ด้าน และกรอบการประเมินตนเอง
๒.      วิเคราะห์ต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนและประเมินทางเลือกพัฒนา *
หมายเหตุ  สามารถศึกษาเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้ที่ “ คู่มือแนวทางการพัฒนาอีโคสคูล”http://ecoschoolsthailand.org/phocadownload/development-resize.pdf
6 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
ข้อมูลจากขั้นที่สองนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและดำเนินงานตามแผนงาน/กิจกรรม/โครงการและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนตามสภาพแวดล้อม  บริบททางสังคม วัฒนธรรม  และวิถีชีวิตในโรงเรียนและชุมชนรอบข้าง
พึงระวังกรอบพันธะกิจ ๔  ด้าน  ไม่ใช่ภาระผูกมัด  แต่เป็นแนวทางที่จะช่วยให้โรงเรียนก้าวเดินอย่างมั่นใจและเหมาะสมตามความพร้อมและศักยภาพของโรงเรียน
71 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
โรงเรียนควรประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะ โดยใช้หลักเกณฑ์การพัฒนาโรงเรียนเป็นเครื่องมือ  เงื่อนไขของเวลาในการพัฒนาโรงเรียนแต่ละแห่ง  มีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมของโรงเรียน  สิ่งสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนรู้ คือ การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

5. จุดเน้นของ Eco-school
๑.      กระบวนการพัฒนาโรงเรียนจะต้องเน้นให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกของนักเรียน  บุคลากรในโรงเรียน  และชุมชนร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
๒.      เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในโรงเรียนและชุมชน
๓.      มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  พัฒนาการคิดเชิงระบบ
๔.  บูรณาการประเด็นท้องถิ่นเข้าสู่หลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน  ที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงประเด็นสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นและระดับโลกอย่าง  เช่น
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school การจัดการขยะและมลพิษ
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school การอนุรักษ์  ฟื้นฟูวัฒนธรรม  และภูมิปัญญาท้องถิ่น
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school ความหลากหลายทางชีวภาพ
๕. ส่งเสริมให้สมาชิกในโรงเรียนและชุมชนคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
๖. โรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ในชุมชน
๗. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนให้เป็นผู้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

6. Eco-school ในประเทศไทย
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนขึ้น ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งสอดรับการดำเนินการขององค์การสหประชาชาติที่ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 – 2555 ศตวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (United Nations Decade of Education for Sustainable Development : DESD)  โรงเรียนนำร่องในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Eco–School) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่ทั้งสิ้น จำนวน 41 แห่ง โดยดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามพันธกิจ 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ  ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  ด้านระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา
นอกจากนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ ดำเนินการงานสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านระบบโรงเรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ โครงการรุ่งอรุณ การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระยะที่ 1-6 โดยได้ดำเนินการกับโรงเรียนในทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนมากกว่า 1,000 โรงเรียน นักเรียนและบุคลากรครูรวมกว่า 50,000 คน มีผลผลิตด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผลการศึกษาเชิงปฏิบัติจริงของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานของกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางของกระบวนการเรียนรู้ด้านพลังงานได้ต่อไป ปัจจุบัน สถาบันได้ต่อยอดโครงการรุ่งอรุณ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ 16 โรงเรียนทั่วประเทศให้มีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ และมีเป้าหมายขยายผลไปยังโรงเรียนอีก 200 โรง
8 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school            สถาบันฯ ได้พัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนให้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นปัญหาภาวะโลกร้อนและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 7 ปี  โดยส่งเสริมให้นักเรียนในโรงเรียน 77 จังหวัดทั่วประเทศร่วมดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน 4 แนวทางการดำเนินงาน คือ การเดินทางอย่างยั่งยืน การลดขยะ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของโรงเรียน และการดำเนินงานในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 8,600 ตัน ขณะที่ในโครงการลดโลกร้อน ด้วยวิถีพอเพียง สามารถสนับสนุนให้โรงเรียน 7 แห่งดำเนินกิจกรรมสิ่งแวดล้อม จนสามารถจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ “ลดโลกร้อน ด้วยวิธีพอเพียง” และมีโรงเรียนเครือข่ายอีก 14 แห่งดำเนินงานด้านการพิทักษ์ภูมิอากาศด้วยวิถีพอเพียง
7. Eco school ในต่างประเทศ
ในประเทศอังกฤษโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือ Eco school เป็นหลักสูตรนานาชาติของการศึกษาเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับโรงเรียน โดยมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อม (Foundation for Environmental Education : FEE) เป็นผู้ก่อตั้งและสนับสนุนโปรแกรมโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา  โดยจุดมุ่งหมายของ Eco school คือการสร้างความตระหนักของนักเรียนในการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการศึกษาในห้องเรียนและชุมชน
โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและกิจกรรมต่างๆ เช่น  น้ำเสีย ขยะพลังงาน  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ความหลากหลายทางชีวภาพ   คุณภาพชีวิต  แผนปฏิบัติการท้องถิ่น21  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สิ่งเเวดล้อมภายในโรงเรียน

ความจำเป็น

              บรรยากาศของโรงเรียนเป็นสภาวะอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน แล้วส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคล เป็นสภาพการณ์ที่ไม่อาจมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่เป็นภาพสะท้อนทางความรู้สึกของบุคคล เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศดี" ในทางตรงกันข้าม เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศไม่ดี"
             โรงเรียนซึ่งมีบรรยากาศที่ดี จะทำให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเกิดความรู้สึกพอใจภูมิใจ อบอุ่นใจ สบายใจ รู้สึกในความเป็นเจ้าของ และอยากมาโรงเรียน โรงเรียนที่มีบรรยากาศไม่ดีจะทำให้สมาชิกเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ห่างเหิน เฉยเมย ว้าเหว่ และไม่อยากมาโรงเรียน
            โรงเรียนที่มีบรรยากาศดี จะทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ และมีความสุข แต่ถ้าบรรยากาศของโรงเรียนไม่ดี ทุกคนก็จะมีแต่ความระทมทุกข์
            จากการสำรวจของแผนกกลางและสถิติ กองกำกับการสวัสดิภาพเด้กและเยาวชน กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อ พ.ศ.2531  พบว่า นักเรียนถูกจับกุมจากความผิดประเภทหนีโรงเรียนมากที่สุดถึง 2,308 คน รองลงมาคือเที่ยวเตร่เกินเวลา22.00 น. 393 คน นั่นเป้นเพียงสถิติการถูกควบคุมตัวเท่านั้น คาดว่านักเรียนที่หนีโรงเรียนแล้วไม่ถูกควบคุมตัว น่าจะมีมากกว่านี้หลายสิบเท่า
          ในจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียน ล้วนมาจากสภาพแวดล้อมทางบ้านที่แตกต่างกันออกไปหากนักเรียนมีความทุกข์เมื่ออยู่ที่บ้าน มาโรงเรียนก็เจอกับสภาพแวดล้อมที่คับแค้นใจอีก เขาคงไม่มีทางออกอย่างอื่น จึงดิ้นรนไปหาสิ่งที่คิดว่าจะทำให้เขาสบายใจขึ้น โดยไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา หากโรงเรียนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดสภาพแวดล้อมที่คำนึงถึงความรู้สึกจากหัวใจดวงน้อย ๆ ของนักเรียนแต่ละคน อาจจะทำให้แนวโน้มสถิตินักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ
จะจัดและสร้างอย่างไร
       ดังที่กล่าวแล้วว่า บรรยากาศของโรงเรียนเป็นสภาวะอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน แล้วส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคล ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะส่งผลให้เกิดสภาพบรรยากาศที่ดีก็คือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน หากจะมองโดยภาพรวมแล้วเราอาจจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เป็นวัตถุ เช่น บริเวณโรงเรียน อาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องประกอบ ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สิ่งชี้วัดถึงลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี ได้แก่ ความชุ่มชื่น การถูกสุขลักษณะ ความร่มรื่น ความสวยงาม ความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความสะดวก ฯลฯ
       การจะจัดและสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของแต่ละโรงเรียนที่ต่างก็มีสภาพของปัญหาหรือความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวความคิดและดุลยพินิจของบุคคลภายในโรงเรียนนั้น ๆ ที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น แต่ควรอยู่ภายใต้หลักการของ "การร่วมคิด ร่วมทำ" ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้สึกที่ดี ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะนักเรียนซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ผู้บริหารและคุณครูควรยอมรับว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถและเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ที่มีความรักความผูกพันและปรารถนาดีต่อโรงเรียนของเขา จึงควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นตัดสินใจร่วมวางแผน จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนภายใต้การแนะนำของผู้บริหารและครูอาจารย์
2. สภาพแวดล้อมทางวิชาการ ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ตลอดจนการจัดบริการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนทางวิชาการต่าง ๆ ที่จะทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ประสบการณ์ให้มากที่สุด ภายใต้บรรยากาศที่มีชีวิตชีวา แจ่มใส น่าเรียนรู้ สอนสนุก เรียนสนุก ครูรักเด็ก เด็กรักครู รักเพื่อน ไม่มีบรรยากาศแห่งความกลัว หวาดผวา วิตกกังวล ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "อยากมาโรงเรียน"
       การจัดสภาพแวดล้อมทางวิชาการ ที่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศดังกล่าว ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ส่งเสริมความสามารถของนักเรียนแต่ละบุคคล ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน แล้วดำเนินกิจกรรมด้วยความเป็นกันเอง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการเรียนเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สภาพแวดล้อมเช่นนี้จะทำให้ทุกคนมีความสุขมีความมั่นใจ และตระหนักในคุณค่าของตนเอง
3. สภาพแวดล้อมทางการบริหารการจัดการ ได้แก่ การดำเนินการใด ๆ ภายในโรงเรียนให้การปฏิบัติงานสำเร็จลงด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคคากร ซึ่งสังเกตได้จากการดำเนินงานอย่างมีระบบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันของบุคลากร ทุกคนในโรงเรียนยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรต่อกัน รักใคร่กลมเกลียวกัน ฯลฯ
        ลักษณะการบริหารการจัดการที่ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีนั้น เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบาย ควรให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วม มีการนำข้อมูลจากการสำรวจสภาพปัจจุบันมากำหนดเป็นนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนางานของโรงเรียน การมอบหมายงานหรือการสั่งการก็เป็นไปตามสายการบังคับบัญชา แจ่มชัด เหมาะสมกับความสามารถ ไม่เกินกำลัง มอบหมายงานแล้วติดตามดูแล ช่วยเหลือ ถามไถ่ดูแลความเหน็ดเหนื่อย ยกย่องชมเชย มีการสร้างขวัญกำลังใจ
จัดสวัสดิการให้หลาย ๆ รูปแบบ เป็นต้น
      การจัดสภาพแวดล้อมทั้งด้านกายภาพ วิชาการ และการบริหารการจัดการ ต่างเอื้อซึ่งกันและกัน ซึ่งโรงเรียนควรตระหนักและสร้างเสริมให้เกิดขึ้น เพื่อให้โรงเรียนเป็นวิมานที่น่าอยู่ น่าเรียน แล้วทุกคนจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
กิจกรรมที่ส่งเสริมบรรยากาศที่ดีในโรงเรียน
        มีกิจกรรมและกระบวนการต่าง ๆ มากมายที่โรงเรียนจำนวนมาก อาจดำเนินการอยู่แล้วด้วยการให้บุคลากรในโรงเรียนได้ ร่วมคิด ร่วมทำ ซึ่งจะมีผลให้เกิดบรรยากาศที่ดีในโรงเรียน เช่น การสร้างคุณภาพงาน (คิวซี) การวางแผนเป็นทีม (Team Planning) กิจกรรม 5 ส กิจกรรมข้อเสนอแนะ (Suggestion System) การนิเทศภายในโรงเรียน การพัฒนาองค์การ(organization Development) กระบวนการกลุ่ม เป็นต้น กิจกรรมและกระบวนการดังกล่าว หรือกิจกรรมอื่นใดก็ตามที่โรงเรียนจะนำมาส่งเสริมการสร้างบรรยากาศที่ดี ควรอยู่ภายใต้หลักการ 5 ประการ คือ
1. หลักการมีส่วนร่วม
2. หลักความเสมอภาค
3. หลักเสียงส่วนมากเป็นครรลอง
4. หลักความถูกต้องเป็นเกณฑ์
5. หลักความจำเป็นเป็นที่พึ่ง
บทสรุป
      โรงเรียนทุกแห่งย่อมปรารถนาให้นักเรียนของตนมีความสุขทั้งอยู่ที่บ้านและที่โรงเรียน ทุกข์หรือสุขที่บ้าน บางครั้งโรงเรียนก็ไม่สามารถเข้าไปช่วยผ่อนคลายได้ แต่ทุกข์หรือสุขที่โรงเรียน น่าจะเป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่ายในโรงเรียน การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีของโรงเรียนจะมีส่วนในการเสริมสร้างความคิด จิตใจ และคุณธรรมต่าง ๆ อันพึงประสงค์ได้ โรงเรียนที่สะอาด สดชื่น ร่มรื่น เรียบง่าย สงบ แจ่มใส มีชีวิตชีวา วัสดุอาคารสถานที่ที่ได้รับการดูแลมีความเป็นปัจจุบันพร้อมที่จะให้ครูและนักเรียนได้ใช้ตลอดเวลา ย่อมจะทำให้ครูและนักเรียนได้รับอิทธิพลทำให้เป็นคนละเอียดอ่อน จิตใจแจ่มใส รักสวยรักงาม รักความสะอาด รักความสงบ เรียบง่าย ทำให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่นไปด้วย

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อม เเละ ธรรมชาติที่มนุษญ์สร้างขึ้นมา

                                   

                                                    กำแพงเมืองจีน 

กำแพงกั้นเมืองและประเทศตามพรมแดนด้านเหนือของจีน ที่สร้างระหว่างปี 243-252 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยพระเจ้าซี่วังตี่ (จิ๋นซีฮ่องเต้) มีขนาดกว้างตั้งแต่ 4.5 เมตร ถึง 7.5 เมตร (10 ฟุต) และมีความสูงจากพื้นด้านล่างตั้งแต่ 8 เมตร ถึง 9 เมตร (20-30 ฟุต หนา15-25 ฟุต) โดยบนกำแพงทุกๆ ระยะ 200 เมตร (300 ฟุต) จะมีหอหรือป้อมสำหรับตรวจเหตุการณ์มากกว่า 15,000 แห่ง พร้อมด้วยหอสูงบอกสัญญาณรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 20,000 หอ 


4.มาจู พิคจู ประเทศเปรู 
เมืองแห่งอาณาจักรอินคา (Inca city, Machu Picchu) ที่ตั้งอยู่ที่คุสโซ ประเทศเปรู ซึ่งสถานที่แห่งนี้ถูกค้นพบโดย "ฮิแรม บิงแฮม" นักสำรวจชาวอเมริกันพบใน ค.ศ.1911 ปัจจุบันนอกจากสิ่งก่อสร้างและซากปรักหักพังบางส่วน เรายังจะได้ชมผังเมืองของชาวอินคาที่เคยรุ่งเรื่องอย่างมากในอดีตด้วย 

                                     สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อม

สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อม

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

    สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินับวันแต่จะถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ โดยที่สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย
และสูญเสียได้ 3 ทาง คือ (ราตรี ภารา, 2540)
1. มนุษย์
2. สัตว์และโรคต่าง ๆ
3. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ซึ่งการสูญเสียเนื่องจากมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้
1. การเพิ่มของประชากร
       
ปัจจุบัน การเพิ่มของประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น การที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น หมายถึง ความต้องการในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตขั้นต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย (สุพจน์ แสงมณี, 2546) ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ทำกินทางการเกษตร จนมีการบุกรุกทำลายป่า ทำให้เกิดเสียสมดุลทางธรรมชาติ อีกทั้งความต้องการในการใช้ ้ทรัพยากรอื่น ๆ มากขึ้นเช่น น้ำ แร่ธาตุ พลังงานอากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเพิ่มของประชากรมาก ขึ้นในแต่ละปี เป็นสาเหตุสำคัญที่ที่ทำให้การใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นและเป็นผลให้จำนวน ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา
2. การขยายตัวของเมือง
       
การ ขยายตัวของชุมชนหรือเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากการขยายตัวของ เมืองอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดปัญหาการขาดการวางแผนการวางผังเมืองไว้ล่วง หน้า ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกทั้งการขยายตัว ของเมือง ปกติแล้วจะเกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วย และในขั้นตอนต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรมถ้าหากขาดการวางแผน และการควบคุมที่ดีก็จะส่งผลต่าง ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย
3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 
       เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในทางการผลิตด้านการเกษตร โดยการใช้สารเคมีต่าง ๆ เช่น ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงทำให้เกิดการตกค้าง ของสารเหล่านี้ในดิน และอาจขยายไปสู่แหล่งน้ำและแหล่งต่าง ๆ ในระบบนิเวศ จนเกิดผลต่าง ๆ ตามมา รวมถึงเกิดการสะสม ในสายใยอาหารทางด้านอุตสาหกรรม สารที่ใช้ในกระบวนการผลิตและสารที่เป็นผลเกิดจากกระบวนการผลิต เช่น ตะกั่ว ปรอท
สารหนู เป็นต้น จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและมีขั้นตอนการกำจัดส่วนที่ตกค้าง ( Residuals ) ให้หมดสิ้นไปได้ยาก และจะเกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย
4. การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ 
       การสร้างถนน อ่างเก็บน้ำ เขื่อน นับว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ทรัพยากรหลัก เช่นป่าไม้ถูกทำลาย ทรัพยากรดิน น้ำ สัตว์ป่าจึงพลอย ได้รับ ผลกระทบกระเทือนตามไปด้วย ทำให้มนุษย์เข้าสู่พื้นที่ป่าที่เหลือได้ง่ายกว่าเดิม เนื่องจากการไปมาสะดวก การทำลายจึง เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อป่าเสื่อมโทรมหรือหมดไป ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกทำลาย โอกาสถูกล่ามีมากขึ้น สัตว์บางชนิดหาอาหาร เป็นไปด้วยความยากลำบาก ในที่สุดก็สูญพันธุ์ไป เป็นต้น
5. การกีฬา 
       ส่วนใหญ่เกิดกับทรัพยากรสัตว์ป่า เช่นการยิงนก ตกปลา และการล่าสัตว์เป็นต้น ถ้าทำเพื่อการกีฬาที่แท้จริงก็ไม่มีปัญหา เรื่องการ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากนัก แต่เมื่อใดที่เป็นการแข่งขันเพื่อทำสถิติด้านจำนวน ขนาดอาวุธร้ายแรงและทันสมัย จะถูกนำมา ใช้มากยิ่งขึ้น สัตว์ป่าที่ได้มาก็จะนำส่วนหนึ่งของที่ได้หรือบางส่วนของร่างกายไปเป็นอาหาร หรือเครื่องใช้เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะทิ้ง ไว้ในป่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่คุ้มกับการสูญเสียชีวิตและพันธุกรรมของสัตว์ป่า
6. การสงคราม 
       ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้มากขึ้น การนำทรัพยากรแร่ธาตุมาใช้เพื่อการผลิตอาวุธและเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งสุดท้ายก็ถูกทำลายไป บางครั้งต้องเร่งขุดเจาะน้ำมันดิบเพื่อขาย แล้วนำเงินตราไปซื้ออาวุธที่ทันสมัยมี ประสิทธิภาพการทำลายสูง มาต่อสู้ซึ่งกันและกัน ผลของสงครามก็คือการสูญเสียทั้งสองฝ่ายในด้านทรัพยากรมนุษย์หรือทรัพยากร อื่น ๆ เช่นการทิ้งระเบิด ทำลายชีวิตและทรัพยากรของมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติการทำลายบ่อน้ำมัน ของอีรักในปี พ . ศ . 2536 ทำให้สูญเสียทรัพยากร ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นล้าน ๆ ปีในการเกิดไปอย่างน่าเสียดายและยังส่งผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเกือบทั่วโลก

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เบื้องหลังสิ่งเเวดล้อม

                                                             
                                                     เบื้องหลังสิ่งเเวดล้อม 

   หลาย ๆ ครั้งที่คนเราทำลายสิ่งแวดล้อมเพราะความไม่รู้ถึงสาเหตุและผลกระทบ ขาดข้อมูลความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้เราเข้าถึง และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ในขณะที่นักอนุรักษ์นึกถึงสิ่งแวดล้อมในรูปของระบบนิเวศของธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่า แต่ภาคอุตสาหกรรมกลับนึกถึงวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยในการผลิตเป็นต้นทุนนัก เศรษฐศาสตร์ จะนึกถึงทรัพยากรที่ต้องใช้ให้คุ้มค่า ชาวนาจะนึกถึงฝน ภาคท่องเที่ยวนึกถึงเงิน การทำการเกษตรที่ไม่ถูกต้องของเกษตรกร ฯลฯ สังคมยังขาดความเข้าใจถึง สิ่งแวดล้อมในลักษณะรวมที่เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อเกิดความเสียหายที่ใดที่หนึ่งก็จะมีผลกระทบแก่กันและ กันบางครั้งลืมไปว่า ความสนุกชั่วครู่ชั่วยามของตนเป็นสิ่งที่ทำลายความเป็นธรรมชาติและความงดงาม ของสถานที่
การกีฬา 
       ส่วนใหญ่เกิดกับทรัพยากรสัตว์ป่า เช่นการยิงนก ตกปลา และการล่าสัตว์เป็นต้น ถ้าทำเพื่อการกีฬาที่แท้จริงก็ไม่มีปัญหา เรื่องการ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากนัก แต่เมื่อใดที่เป็นการแข่งขันเพื่อทำสถิติด้านจำนวน ขนาดอาวุธร้ายแรงและทันสมัย จะถูกนำมา ใช้มากยิ่งขึ้น สัตว์ป่าที่ได้มาก็จะนำส่วนหนึ่งของที่ได้หรือบางส่วนของร่างกายไปเป็นอาหาร หรือเครื่องใช้เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะทิ้ง ไว้ในป่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่คุ้มกับการสูญเสียชีวิตและพันธุกรรมของสัตว์ป่า

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของธรรรมชาติ




ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ



ทรัพยากรธรรมชาติ คือสิ่งที่เกิดมีขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ป่าไม้ ภูเขา ตลอดจนแร่ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นดิน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น เราควรเรียนรู้ ทำความเข้าใจถึงประโยชน์ของทรัพยากรที่มีต่อเรา เพื่อที่จะได้เห็นคุณค่าและเกิด ความหวงแหนตามมา ซึ่งทรัพยากรแต่ละชนิดมีประโยชน์ดังนี้


1. ดิน ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่แต่ละท้องถิ่นมีเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันในด้านคุณภาพ ซึ่งบางท้องถิ่นอาจเป็นดินทราย บางท้องถิ่นอาจเป็นดินเหนียว การใช้ประโยชน์จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของดินแต่ละแห่งด้วย


ดินมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคน สัตว์ และพืชเพราะเป็นแหล่งเพาะปลูก ซึ่งทำให้เกิดผลผลิตทางอาหารแก่คนและสัตว์ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์บางชนิด เราจึงควรเห็นคุณและประโยชน์ของดิน


2. น้ำ น้ำก็เช่นเดียวกันแต่ละท้องถิ่นมีเหมือนกัน แต่อาจมีมากน้อยต่างกันไป เช่น ภาคอีสานกับภาคใต้จะมีปริมาณน้ำที่ไม่เหมือนกัน และคุณภาพของน้ำอาจมีความแตกต่างกันด้วย


น้ำ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร และการทำอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้เป็นแหล่งพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้า เราควรใช้น้ำอย่างรู้ค่า เห็นคุณ


3. อากาศ เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง หากไม่มีอากาศสิ่งมีชีวิตคงอยู่ไม่ได้ แต่อากาศจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับธรรมชาติด้วย คนเรามีส่วนทำให้ธรรมชาติเสียสมดุลไป อากาศจึงเปลี่ยนแปลงไป อากาศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิตต่างๆ ต้องการอากาศในการหายใจ ถ้าขาดอากาศแม้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตตายได้ ดังนั้นเราควรรักษาธรรมชาติเพื่อให้อากาศดีมีคุณค่าต่อเราต่อไป


4. ป่าไม้ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตมากมาย เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่างๆ เป็นแหล่งผลิตอาหาร สมุนไพร เป็นแหล่งผลิตไม้ ซึ่งคนนำมาใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนี้ป่าไม้ยังช่วยสร้างสมดุลให้แก่สภาพแวดล้อม เช่น เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทำให้เกิดความชุ่มชื้นป้องกันการพังทลายของหน้าดิน บรรเทาความรุนแรงของลมพายุ เป็นต้น


5. สัตว์ป่า ทุกวันนี้นับวันสัตว์ป่าจะลดจำนวนลงและหมดหายไปในที่สุด ทั้งนี้เพราะฝีมือมนุษย์เรานั้นเอง เราควรอนุรักษ์สัตว์ป่าเอาไว้ ทั้งนี้เพราะสัตว์ป่ามีความสำคัญในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมให้มีความสมดุลด้านการศึกษาชีวิตและธรรมชาติของสัตว์ ด้านการท่องเที่ยวเพื่อดูสัตว์ป่าต่างๆ







สิ่งเเวดล้อมรอบตัว



ความหมายสิ่งแวดล้อม


สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
    สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
  • สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
  • สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม

  • ประโยชน์ของดิน
    ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ
    1. ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อาหารที่คนเราบริโภคในทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90%
    2. การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯล
    3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย
    4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เนื้อดินจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินซึ่งถ้ามีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำลำคลองทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี
    ชนิดของดิน
    อนุภาคของดินจะรวมตัวกันเข้าเกิดเป็นเม็ดดิน อนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว อนุภาคขนาดกลางเรียกอนุภาคทรายแป้ง อนุภาคขนาดใหญ่เรียกว่า อนุภาคทรายเนื้อดิน จะมีอนุภาคทั้ง 3 กลุ่มนี้ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดลักษณะของดิน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน
    1. ดินเหนียว เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วมีความยืดหยุ่น อาจปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีความสามารถในการจับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง หรือค่อนข้างสูง เป็นดินที่มีก้อนเนื้อละเอียด เพราะมีปริมาณอนุภาคดินเหนียวอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน
    2. ดินทราย เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ชั้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งอาหารและน้ำเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายเพราะมีปริมาณอนุภาคทรายมาก
    3. ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือ ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในธรรมชาติมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบดินที่มีเนื้อดินใกล้เคียงกันมากกว่า
    สีของดิน สีของดินจะทำให้เราทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ปริมาณอินทรียวัตถุที่ปะปนอยู่และแปรสภาพเป็นฮิวมัสในดิน ทำให้สีของดินต่างกันถ้ามีฮิวมัสน้อยสีจะจางลงมีความอุดมสมบูรณ์น้อย

    ลักษณะโครงสร้างที่ดีของดิน ได้แก่ สภาพที่เม็ดดินเกาะกันเป็นก้อนเล็ก ๆ อยู่รวมกันอย่างหลวม ๆ ตลอดชั้นของหน้าดิน

    ปัญหาทรัพยากรดิน
    ดินส่วนใหญ่ถูกทำลายให้สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ หรือตัวเนื้อดินไปเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ และการสูญเสียตามธรรมชาติทำให้เราไม่อาจใช้ประโยชน์จากดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การสูญเสียดินเกิดได้จาก
    1. การกัดเซาะและพังทลายโดยน้ำ น้ำจำนวนมากที่กระทบผิวดินโดยตรงจะกัดเซาะผิวดิน ให้หลุดลอยไปตามน้ำ การสูญเสียบริเวณผิวดินจะเป็นพื้นที่กว้าง หรือถูกกัดเซาะเป็นร่องเล็ก ๆ ก็ขึ้นอยู่กับความแรง และบริเวณของน้ำที่ไหลบ่าลงมาก
    2. การตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า ถางป่าทำให้หน้าดินเปิด และถูกชะล้างได้ง่ายโดยน้ำและลมเมื่อฝนตกลงมา น้ำก็ชะล้างเอาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปกับน้ำ ทำให้ดินมีคุณภาพเสื่อมลง
    3. การเพาะปลูกและเตรียมดินอย่างไม่ถูกวิธี การเตรียมที่ดินทำการเพาะปลูกนั้นถ้าไม่ถูกวิธีก็จะก่อความเสียหายกับดินได้มากตัวอย่างเช่น การไถพรวนขณะดินแห้งทำให้หน้าดินที่สมบูรณ์หลุดลอยไปกับลมได้ หรือการปลูกพืชบางชนิดจะทำให้ดินเสื่อมเร็ว การเผาป่าไม้ หรือตอข้าวในนา จะทำให้ฮิวมัสในดินเสื่อมสลายเกิดผลเสียกับดินมาก

    ดินที่เป็นกรด เกษตรกรแก้ไขได้โดยการใช้ปูนขาวหว่าน และไถพรวนให้เข้ากับดิน

    การอนุรักษ์ดิน
    ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพังทลายหรือการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินนั้น จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้เกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาบำรุงดินเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล ตะกอนดินที่ถูกชะล้างทำให้แม่น้ำและปากแม่น้ำตื้นเขิน ต้องขุดลอกใช้เงินเป็นจำนวนมาก เราจึงควรป้องกันไม่ให้ดินพังทลายหรือเสื่อมโทรมซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการอนุรักษ์ดิน
    1. การใช้ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม การปลูกพืชควรต้องคำนึงถึงชนิดของพืชที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน การปลูกพืชและการไถพรวนตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน นอกจากนี้ควรจะสงวนรักษาที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ใช้ในกิจการอื่น ๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย เพราะที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมในการเพาะปลูกมีอยู่จำนวนน้อย
    2. การปรับปรุงบำรุงดิน การเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก การปลูกพืชตะกูลถั่ว การใส่ปูนขาวในดินที่เป็นกรด การแก้ไขพื้นที่ดินเค็มด้วยการระบายน้ำเข้าที่ดิน เป็นต้น
    3. การป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน ได้แก่ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชบังลม การไถพรวนตามแนวระดับ การทำคันดินป้องกันการไหลชะล้างหน้าดิน รวมทั้งการไม่เผาป่าหรือการทำไร่เลื่อนลอย
    4. การให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน การระบายน้ำในดินที่มีน้ำขังออกการจัดส่งเข้าสู่ที่ดินและการใช้วัสดุ เช่น หญ้าหรือฟางคลุมหน้าดินจะช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์


สิ่งเเวดล้อมในบ้าน



การใส่ใจสิ่งเเวดล้อม
ในอดีตที่ผ่านมาการทำเกษตรกรรม การปลูกพืช หรือการเลี้ยงสัตว์ ล้วนแต่ทำเพื่อพออยู่พอกิน เหลือก็เอาไปขายซื้อสิ่งของอย่างอื่นที่ในพื้นที่ของตัวเองไม่มี ประกอบกับประชากรในประเทศยังมีไม่มากเหมือนปัจจุบัน ครอบครัวหนึ่งจะมีพื้นที่ถือครองอย่างน้อย 10 ไร่ขึ้นไป แต่ในปัจจุบันประชากรในประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ พื้นที่ทางการเกษตรหรือพื้นที่ถือครองลดน้อยถอยลง และกลายเป็นบ้านจัดสรรไปก็มาก พื้นที่ในบริเวณบ้านที่จะปลูกไม้ผลไว้รับประทานก็แทบจะไม่มี เพราะฉะนั้นทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ผักผลไม้ต้องซื้อหาแทบทั้งนั้น เกษตรกรผู้ผลิตผักผลไม้ก็ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช อย่างไม่ระมัดระวังและเกินความจำเป็น ทำให้ประชาชนทั่วไปที่บริโภคได้รับสารเคมีเหล่านั้นตกค้าง ต้องผจญกับโรคภัยไข้เจ็บและต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการรักษา และรัฐต้องสูญเสียงบประมาณมหาศาลในการนำเข้ายารักษาโรค ถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องช่วยกันทำให้บ้านเรามีอากาศที่บริสุทธิในการหายใจ มีผลไม้ไว้รับประทานและใช้ประดับไว้บริเวณบ้าน มีผักที่ปลอดภัยจากสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือน ประหยัดรายจ่ายตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง และที่สำคัญยังสร้างบรรยากาศในครอบครัวให้รักใคร่กลมเกลียวในการชื่นชมผลผลิต ดอกและผลที่ได้ร่วมกันปลูก
ประโยชน์ของการปลูกไม้ผลในภาชนะ
- เจริญเติบโตได้เร็วกว่าปลูกลงดิน เพราะดินปลูกมีความร่วนซุย และ โปร่ง
- ใช้พื้นที่น้อย
- ให้ผลผลิตเร็ว
- ดูแลรักษาด้านโรค แมลง วัชพืช และการห่อผลง่าย
- บังคับออกดอกติดผลได้ 
- ควบคุมคุณภาพ และรสชาติได้ ดีกว่าปลูกลงดิน
- สามารถเคลื่อนย้าย หรือยกขายทั้งภาชนะได้ 
- ใช้เป็นไม้ประดับภายในบ้าน 
- สร้างบรรยากาศภายในครอบครัว 
- ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ มลภาวะ คายออกซิเจน และลดโลกร้อน
ชนิดของไม้ผลที่ปลูกในภาชนะ
ลำไย มะม่วง ลิ้นจี่ ส้ม ส้มโอ มะนาว ขนุน น้อยหน่า มะปราง มะยงชิด ละมุด มะละกอ กล้วย มะดัน ชมพู่ ลองกอง เงาะ มังคุด ทุเรียน เชอร์รี่ มะขาม มะไฟ มะเฟือง ฯลฯ
katang1katang2
กล้วยน้ำหว้าในกระถาง
กล้วยหอมในกระถาง
katang8katang11
ปลูกผักในวงบ่อปลูกละมุดในกระถาง
katang15katang17
มะม่วงในกระถางส้มโอในกระถาง
a0014lemon14
น้อยหน่าในกระถางมะเฟืองในกระถาง
lemon12lemon11
มะม่วงในกระถางมะนาวในวงบ่อซีเมนต์
lemon13lemon15
ฝรั่งในกระถางแถวไม้ผลในกระถาง

ภาชนะที่ใช้ปลูก
- วัสดุที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้ว เช่น ปีบ กะละมัง ถังน้ำ ตุ่มใส่น้ำ ตุ่มกรองน้ำ หม้อต่างๆ ยางรถยนต์ ฯลฯ - กระถางพลาสติก กระถางดินเผา กระถางโอ่งมังกรราชบุรี วงบ่อซีเมนต์ ฯลฯ

วัสดุปลูก
- ดินดำ (หน้าดิน) 1 ส่วน - แกลบดิบ (เปลือกข้าว) 2 ส่วน - มูลวัว , มูลควาย 1 ส่วน 

การปลูกไม้ผลในวงบ่อซีเมนต์
ระยะปลูกตั้งแต่ ระยะระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 4 เมตร ขึ้นไป ( 1 ไร่จะปลูกได้ 133 ต้น) บ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร ใช้ฝาวงบ่อซีเมนต์วางลงบนพื้นปรับให้เรียบ เอาวงบ่อวงซีเมนต์วางทับบนฝา จากนั้นผสมดิน 1 ส่วน แกลบดิบ (เปลือกข้าว) 2 ส่วน และปุ๋ยคอก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในวงบ่อซีเมนต์ เหลือขอบวงบ่อซีเมนต์ไว้ประมาณ 3 นิ้ว นำไม้ผลลงปลูก และรดน้ำ ปักไม้ผูกเชือกลำต้นกันลมโยก เป็นอันว่าเสร็จกระบวนการ

การใช้วัสดุคลุมดินในการปลูกไม้ผลในภาชนะ
katang7ประโยชน์ของวัสดุคลุมดิน
- ประหยัดน้ำ และประหยัดแรงงานในการให้น้ำ ปกติการปลูกไม้ผลในภาชนะต้องรดน้ำ
วันเว้นวัน ถ้าหาก ใช้วัสดุคลุมหน้าดิน 4 วันรดน้ำ 1 ครั้ง เนื่องจากการระเหยของน้ำ
จากแสงแดด
- ป้องกันวัชพืช และประหยัดแรงงานในการกำจัดวัชพืช วัชพืชไม่ได้รับแสง
จึงไม่สามารถงอกได้
- เพิ่มธาตุอาหาร และประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ย เมื่อวัสดุคลุมหน้าดินโดนน้ำมีความชื้น
จะทำให้การย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้เร็ว
- ไม่เกิดมลภาวะในการเผาทำลาย

วัสดุคลุมดิน
ได้แก่ ฟางข้าวแห้ง หญ้าแห้ง ชังข้าวโพดแห้ง กิ่งไม้บดแห้ง แกลบ (เปลือกข้าว) ผักตบชวาแห้ง เศษผัก เศษอาหาร พืชตะกุลถั่ว มูลวัว กากแอปเปิ้ล ฟางข้าวสาลี กระดาษ ขี้เลื่อย กาแฟบด เปลือกไม้ ขยะผลไม้ มูลสัตว์ปีกสด มูลม้า หนังสือพิมพ์ ใบสน มูลที่เน่าเปื่อย ใบไม้แห้ง(ใบจามจุรี หรือใบก้ามปู ดีที่สุด มีไนโตรเจน 3.25 เปอร์เซ็นต์)

ตารางแสดงอัตราส่วน C:N ของวัตถุอินทรีย์ทั่วไป
วัตถุอินทรีย์
อัตราส่วน C:N
เศษผัก
12-20:1
เศษอาหาร
18:1
พืชตะกูลถั่ว
13:1
มูลวัว
20:1
กากแอปเปิ้ล
21:1
ใบไม้
40-80:1
ฟางข้าวโพด
60:1
ฟางข้าวสาลี
74:1
กระดาษ
80:1
ขี้เลื่อย
150-200:1
เศษหญ้า
100-150:1
กาแฟบด
12-25:1
เปลือกไม้
20:1
ขยะผลไม้
100-130:1
มูลสัตว์ปีกสด
10:1
มูลม้า
25:1
หนังสือพิมพ์
50-200:1
ใบสน
60-110:1
มูลที่เน่าเปื่อย
20:1
ที่มา:การทำปุ๋ยหมัก(Composting) ดร.ฉัตรชัย จันทร์เด่นดวง
katang6
อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน แสดงให้ท่านได้ทราบว่า ถ้าหากค่าของคาร์บอนยิ่งน้อยแสดงว่าการย่อยสลายของวัสดุนั้นๆ เร็ว คือสามารถย่อยและเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ของท่านเร็ว ตรงกันข้ามถ้าหากค่าของคาร์บอนยิ่งสูงยิ่งย่อยสลายช้า เพราะฉะนั้นท่านสามารถเลือกวัสดุคลุมดินที่มีประโยชน์กับต้นไม้ของท่านได้ และยังสามารถทราบถึงการนำไปทำปุ๋ยหมักได้ด้วย

katang9katang10
ปลูกมะนาวในถังสีที่ใช้แล้วปลูกไม้ผลในถังสารโพแตสเซียมคลอเรต
katang12katang13
พริกไทยปลูกในถังมะนาวในกระถาง

การปลูกไม้ผลในวงบ่อซีเมนต์ร่วมกับพืชผัก
ในระหว่างไม้ผลเจริญเติบโต และยังไม่ให้ผลผลิต เราควรจะใช้พื้นที่ในวงบ่อซีเมนต์ให้เกิดประโยชน์ โดยการปลูกพืชผักในวงบ่อซีเมนต์ ไว้บริโภคในครัวเรือน และยังทำไปจำหน่ายเป็นอาชีพkatang18เสริมเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง ชนิดพืชผักที่สามารถปลูกร่วมกับไม้ผลได้ เช่น ผักกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ คะน้า กะหล่ำ ผักบุ้งจีน มะเขือ กระเจี๊ยบ กระเพรา โหรพา สละแหน่ ผักไผ่ คื่นฉ่าย ผักชี พริก ฯลฯ

การปลูกไม้ผลในวงบ่อซีเมนต์
ระยะปลูกตั้งแต่ ระยะระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 4 เมตร ขึ้นไป ( 1 ไร่จะปลูกได้ 133 ต้น) บ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร ใช้ฝาวงบ่อซีเมนต์วางลงบนพื้นปรับให้เรียบ เอาวงบ่อวงซีเมนต์วางทับบนฝา จากนั้นผสมดิน 1 ส่วน แกลบดิบ (เปลือกข้าว) 2 ส่วน และปุ๋ยคอก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ลงในวงบ่อซีเมนต์ เหลือขอบวงบ่อซีเมนต์ไว้ประมาณ 3 นิ้ว นำไม้ผลลงปลูก และรดน้ำ ปักไม้ผูกเชือกลำต้นกันลมโยก เป็นอันว่าเสร็จกระบวนการ

 
 
บ้านโพธิ์ร่มเย็นตะหนักถึงผลกระทบของมนุษย์ต่อสิ่งเเวดล้อม เราจึงเป็นที่เเรกในเขตชุมชนในการเป็นบ้านพักที่ใส่ใจสิ่งเเวดล้อม โดยการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่เเหล่งน้ำสาธารณะ รวมทั้งมีการคัดเเยกขยะ เพื่อนำไปสู่การกำจัดที่ถูกวิธี ทั้งนี้เพราะเราทราบดีว่า สิ่งเเวดล้อมมีความสำคัญต่อมนุษย์ ชุมชน เเละสิ่งมีชีวิตต่างๆอย่างไร


                 .........เพราะมีสิ่งเเวดล้อมที่ดี จึงมีเรา.................
 
บ้านโพธิ์ร่มเย็นใส่ใจสิ่งเเวดล้อม
เงียบสงบเป็นส่วนตัว
ล่องเรือชมทิวทัศน์
ลองรับรสปลาทู
เชิญสัมผัสดูหมู่หิ่งห้อย