วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สภาพสิ่งเเวดล้อม

การจะจัดและสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของแต่ละโรงเรียนที่ต่างก็มีสภาพของปัญหาหรือความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวความคิดและดุลยพินิจของบุคคลภายในโรงเรียนนั้น ๆ ที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น แต่ควรอยู่ภายใต้หลักการของ "การร่วมคิด ร่วมทำ" ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้สึกที่ดี ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะนักเรียนซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ผู้บริหารและคุณครูควรยอมรับว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถและเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ที่มีความรักความผูกพันและปรารถนาดีต่อโรงเรียนของเขา จึงควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นตัดสินใจร่วมวางแผน จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนภายใต้การแนะนำของผู้บริหารและครูอาจารย์
2. สภาพแวดล้อมทางวิชาการ ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ตลอดจนการจัดบริการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนทางวิชาการต่าง ๆ ที่จะทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ประสบการณ์ให้มากที่สุด ภายใต้บรรยากาศที่มีชีวิตชีวา แจ่มใส น่าเรียนรู้ สอนสนุก เรียนสนุก ครูรักเด็ก เด็กรักครู รักเพื่อน ไม่มีบรรยากาศแห่งความกลัว หวาดผวา วิตกกังวล ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "อยากมาโรงเรียน"

การจัดสภาพแวดล้อมทางวิชาการ ที่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศดังกล่าว ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ส่งเสริมความสามารถของนักเรียนแต่ละบุคคล ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน แล้วดำเนินกิจกรรมด้วยความเป็นกันเอง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการเรียนเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สภาพแวดล้อมเช่นนี้จะทำให้ทุกคนมีความสุขมีความมั่นใจ และตระหนักในคุณค่าของตนเอง

3. สภาพแวดล้อมทางการบริหารการจัดการ ได้แก่ การดำเนินการใด ๆ ภายในโรงเรียนให้การปฏิบัติงานสำเร็จลงด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคคากร ซึ่งสังเกตได้จากการดำเนินงานอย่างมีระบบ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันของบุคลากร ทุกคนในโรงเรียนยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรต่อกัน รักใคร่กลมเกลียวกัน ฯลฯ

ลักษณะการบริหารการจัดการที่ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีนั้น เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบาย ควรให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วม มีการนำข้อมูลจากการสำรวจสภาพปัจจุบันมากำหนดเป็นนโยบายในการแก้ปัญหาและพัฒนางานของโรงเรียน การมอบหมายงานหรือการสั่งการก็เป็นไปตามสายการบังคับบัญชา แจ่มชัด เหมาะสมกับความสามารถ ไม่เกินกำลัง มอบหมายงานแล้วติดตามดูแล ช่วยเหลือ ถามไถ่ดูแลความเหน็ดเหนื่อย ยกย่องชมเชย มีการสร้างขวัญกำลังใจ
จัดสวัสดิการให้หลาย ๆ รูปแบบ เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กลุ่มส่งเสริมสิ่งเเวดล้อม

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนขึ้น ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งสอดรับการดำเนินการขององค์การสหประชาชาติที่ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 – 2555 ศตวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (United Nations Decade of Education for Sustainable Development : DESD) โรงเรียนนำร่องในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Eco–School) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่ทั้งสิ้น จำนวน 41 แห่ง โดยดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามพันธกิจ 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา

นอกจากนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ ดำเนินการงานสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านระบบโรงเรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ โครงการรุ่งอรุณ การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระยะที่ 1-6 โดยได้ดำเนินการกับโรงเรียนในทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนมากกว่า 1,000 โรงเรียน นักเรียนและบุคลากรครูรวมกว่า 50,000 คน มีผลผลิตด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผลการศึกษาเชิงปฏิบัติจริงของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานของกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางของกระบวนการเรียนรู้ด้านพลังงานได้ต่อไป ปัจจุบัน สถาบันได้ต่อยอดโครงการรุ่งอรุณ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ 16 โรงเรียนทั่วประเทศให้มีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ และมีเป้าหมายขยายผลไปยังโรงเรียนอีก 200 โรง

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผลกระทบของธรรมชาติของเรือนกระจก

ผลกระทบจากภาวะเรือนกระจก
•ความร้อนของอากาศที่มีอยู่ในโลกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
•ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ส่งผลต่อประเทศที่เป็นหมู่เกาะและชายฝั่งทวีป ตลอดจนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใช้สำหรับเป็นที่ผลิตอาหารจะจมอยู่ใต้ทะเล
•ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะรุนแรงมากขึ้น เช่น ความรุนแรงของพายุจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิพื้นผิวหน้าของทะเล ถ้าอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นอีก ความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนจะเพิ่มขึ้นอีก 40-50 %
ฝนกรด ฝนกรดเกิดจากชั้นบรรยากาศที่ถูกมนุษย์ปล่อยสิ่งสกปรกไป สะสมไว้ที่ชั้น บรรยากาศ เช่น ควัน เขม่า ละอองไอเสีย ก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรม จากเครื่องยนต์ ซึ่งก๊าซบางอย่างไปรวมตัวกับน้ำในบรรยากาศ ทำให้เกิดกรดขึ้น เช่น ซึ่งกรดทั้ง 3 ตัวนี้เป็นกรดแก่ ทำให้น้ำฝนเป็นกรด
ผลกระทบจากฝนกรด
•ผู้ที่ใช้น้ำฝนเป็นน้ำดื่ม น้ำใช้ จะมีผลต่อสุขภาพเพราะฝนกรดเหล่านี้อาจทำให้เกิดพิษภัย ต่อผู้บริโภค เช่น ทำให้เป็นโรคกระเพาะ เป็นมะเร็ง อันเนื่องมาจากกรดซัลฟูริค เป็นต้น
•ฝนกรดจะทำลายธาตุอาหารบางชนิดในดิน เช่น ไนเตรต ฟอสเฟต ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเพาะปลูก เช่นปลูกพืชผักไม่ขึ้น ได้ผลผลิตน้อยกว่าปกติ เพราะฝนกรดทำให้ดินเปรี้ยว จุลินทรีย์หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ถูกทำอันตรายต่อความ เป็นกรดทั้งสิ้น พืชต้องอาศัย จุลินทรีย์จากดิน เช่น สารอินทรีย์โมเลกุล ใหญ่จะต้องถูกสลายให้เป็นโมเลกุลเล็ก พืชจึงจะดูดเข้าไปใช้ได้ หรือพืชจะต้องอาศัยอนุมูลแอมโมเนียที่จุลินทรีย์ดึงมาจากอากาศ ดังนั้น การที่มีกรดในน้ำฝนจึงลดความเจริญของจุลินทรีย์ในดิน ยังผลกระทบกระเทือนไปถึงพืชอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สิ่งเเวดล้อมในชุมชน

1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้น ดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้และสัตว์อื่น ๆ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอด จนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นชุมชน โดยมีขนบธรรมเนียบประเพณี ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นและข้อจำกัดทางธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เพื่อให้เกิดการดำรงชีวิตอย่างผาสุกและเสริมสร้างคุณภาพแห่งชีวิต
ในแต่ละชุมชนก็จะมีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ทัศนคติ และนิสัยใจคอของผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชนด้วย เช่น บางแห่งอาจอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ บางแห่งอาจมีความกว้างใหญ่ไพศาลของทะเลและบางแห่งก็สลับซับซ้อนด้วยทิวเทือกเขา มีภูเขามาก สิ่งแวดล้อมในบางแห่งเหมาะที่จะใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว บางแห่งก็เหมาะที่จะใช้ทำการเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งแต่ละชุมชนต่างได้รับประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ตามลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ และโดยความเป็นจริงแล้วสิ่งแวดล้อมได้ให้ประโยชน์แก่คนในชุมชนนั้นอย่างมากมายมหาศาล เราใช้สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยในการประกอบอาชีพ ให้เป็นกฎเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของสังคม ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งรวมของความสวยงามตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งที่เราสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติได้

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มลพิษทางน้ำ

มลพิษทางน้ำ (Water pollution) เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหามลพิษอื่นๆปัญหามลพิษทางน้ำมักเกิดกับเมืองใหญ่ๆแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศถูกปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและสารมลพิษต่างๆทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
สาเหตุของการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำทิ้งจากที่อยู่อาศัย ซึ่งมักจะมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนมาด้วย น้ำทิ้งดังกล่าวมักเป็นสาเหตุของการที่น้ำมีสีดำ และมีกลิ่นเน่าเหม็น น้ำที่มีสารพิษตกค้างอยู่ เช่น น้ำจากแหล่งเกษตรกรรมที่มีปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช น้ำทิ้งที่มีโลหะหนักปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สารเหล่านี้จะถูสะสมในวงโคจรโซ่อาหารของสัตว์น้ำ และมีผลต่อมนุษย์ภายหลัง
ผลกระทบจากมลพิษทางน้ำ
น้ำที่อยู่ในระดับรุนแรง ซึ่งประชาชนทั่วไป เรียกว่า น้ำเสีย มีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน คือตะกอนขุ่นข้น สีดำคล้ำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ก่อให้เกิดความรำคราญต่อชุมชน และอาจมีฟองลอยอยู่เหนือน้ำเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของน้ำเสียบางครั้งเราอาจมองไม่เห็นก็ได้ ถ้าน้ำนั้นปนเปื้อนด้วยสารพิษ เช่น ยาปราบศัตรู หรือยาฆ่าแมลง แร่ธาตุ เป็นต้น