วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โรงเรียนสิ่งเเวดล้อม


โรงเรียนสิ่งเเวดล้อม
 สิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกระบวนการเสริมสร้างให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมกับชีวิตมีความสำคัญในด้านการเป็นความรู้พื้นฐานของการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันในชุมชน สังคม ประเทศ และโลก รวมถึงเป็นปัจจัยที่ช่วยให้บุคคลเกิดความตระหนักอย่างลึกซึ้งจนเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางอันเกื้อกูลต่อการพัฒนาตามครรลองของการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโดยใช้กลไกด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษานับว่ามีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งแวดล้อมศึกษาคือการศึกษาตลอดชีวิต (Life-long  Learning)                ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ทุกประเภททั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและการเรียนรู้ตามธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันตามอัธยาศัย ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนพลเมือง ทุกเพศ ทุกวัย ในทุกภาคส่วนของสังคมตามเจตนารมณ์ และจุดมุ่งหมายบทบัญญัติกฎหมายหลายฉบับ
โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาจึงนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม  โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในการเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาจิตสำนึก และเจตคติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน

1. โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ อะไร
21 150x150 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school โรงเรียนที่มีการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนของโรงเรียนเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้  ความเข้าใจ  ความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นและของโลก  และพร้อมที่เข้าไปมีบทบาทในกระบวนการ อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


2. แนวคิดสำคัญในการพัฒนาโครงการโรงเรียน  Eco-school
โลกใบนี้อยู่ในภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อม  ความท้าทายสำคัญของการจัดการศึกษาจึงไม่ใช่การสร้างพลเมืองได้มีความรู้ความสามารถไปประกอบอาชีพ  และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่  แต่ควรเป็นการสร้างพลเมืองที่จะสามารถปรับตัวและสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้คนในสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
แนวคิดของอีโคสคูลจึงมองเห็นเป้าหมายของการจัดการศึกษา  คือ  การสร้างเด็กให้เติบโตเพื่อไปเป็นพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  มองเห็นความซับซ้อนของปัญหาความเชื่อมโยงกันของมิติทางเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  การเมืองและวัฒนธรรม  และที่สำคัญ  คือ  พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติ ให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไม่ลังเลชักช้า
ดังนั้น  การเรียนรู้ของเด็กนักเรียนจึงไม่สามารถจำกัดกรอบอยู่เพียงในตำราหรือห้องเรียน  แต่ควรเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว  มีเรื่องราวและปัญหาของท้องถิ่นเป็นโจทย์ในการเรียนรู้  โดยสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค  ระดับประเทศและระดับโลก
เมื่อเยาวชนเหล่านี้เติบโตกระจายอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ และในสาขาอาชีพต่างๆก็สามารถผนึกเป็นพลังที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ได้

3. หลักการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา
หลักการ  ” การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ” หรือ whole  school  approach  for  Environmental  education  เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน  อันประกอบด้วยพันธกิจ ๔ ด้าน  เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้วิเคราะห์  และพัฒนา  และบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการสร้าง  “ พลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม ”
3 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
           นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ   ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนพันธกิจด้านอื่นๆ  ให้ประสบความสำเร็จหรือพัฒนาโรงเรียนได้ทั้งระบบ ซึ่งเป็นพันธกิจที่ขึ้นตรงกับผู้บริหารเป็นสำคัญ
           การจัดกระบวนการเรียนรู้   เป็นพันธะกิจที่จะสร้างความยั่งยืนให้แก่โรงเรียนและตัวนักเรียน    ดำเนินการโดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลาง   ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของทรัพยากรธรรมชาติ  เศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมของชุมชนที่นักเรียนอาศัย
การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม   จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน  จัดการเรียนรู้  “ ทางอ้อม ”  ให้กับผู้เรียน   เป็นตัวอย่างและต้นแบบที่เป็น  “ วิถีปฏิบัติ ”  ปกติในโรงเรียนให้ขยายผลไปสู่บ้านและชุมชนของนักเรียนได้
การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา   เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของเด็กทั้งบุคลากรฝ่ายต่างๆในโรงเรียน  และระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน   และโรงเรียนกับชุมชนภายนอก

4. อยากพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน  Eco-school  จะต้องทำอย่างไร
4 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
 ๑.     ทำความเข้าใจเรื่อง  “ โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ”
๒.     กำหนดคุณลักษณะที่อยากเห็นในตัวผู้เรียนตามบริบทโรงเรียน
๓.     พร้อมใจก้าวไปด้วยกันทั้งโรงเรียนและชุมชน
5 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นอีโคสคูล นั้น    จะให้ความสำคัญกับการ  “ ต่อยอด ” หรือ “ ปรับ/พัฒนา ” งานเดิมที่โรงเรียนมีอยู่แล้วให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
๑.      สำรวจต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนจากกรอบพันธกิจ ๔ ด้าน และกรอบการประเมินตนเอง
๒.      วิเคราะห์ต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนและประเมินทางเลือกพัฒนา *
หมายเหตุ  สามารถศึกษาเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้ที่ “ คู่มือแนวทางการพัฒนาอีโคสคูล”http://ecoschoolsthailand.org/phocadownload/development-resize.pdf
6 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
ข้อมูลจากขั้นที่สองนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและดำเนินงานตามแผนงาน/กิจกรรม/โครงการและการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนตามสภาพแวดล้อม  บริบททางสังคม วัฒนธรรม  และวิถีชีวิตในโรงเรียนและชุมชนรอบข้าง
พึงระวังกรอบพันธะกิจ ๔  ด้าน  ไม่ใช่ภาระผูกมัด  แต่เป็นแนวทางที่จะช่วยให้โรงเรียนก้าวเดินอย่างมั่นใจและเหมาะสมตามความพร้อมและศักยภาพของโรงเรียน
71 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school
โรงเรียนควรประเมินผลการพัฒนาเป็นระยะ โดยใช้หลักเกณฑ์การพัฒนาโรงเรียนเป็นเครื่องมือ  เงื่อนไขของเวลาในการพัฒนาโรงเรียนแต่ละแห่ง  มีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมของโรงเรียน  สิ่งสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนรู้ คือ การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

5. จุดเน้นของ Eco-school
๑.      กระบวนการพัฒนาโรงเรียนจะต้องเน้นให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกของนักเรียน  บุคลากรในโรงเรียน  และชุมชนร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
๒.      เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในโรงเรียนและชุมชน
๓.      มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  พัฒนาการคิดเชิงระบบ
๔.  บูรณาการประเด็นท้องถิ่นเข้าสู่หลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน  ที่ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงประเด็นสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นและระดับโลกอย่าง  เช่น
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school การจัดการขยะและมลพิษ
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school การอนุรักษ์  ฟื้นฟูวัฒนธรรม  และภูมิปัญญาท้องถิ่น
tick โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school ความหลากหลายทางชีวภาพ
๕. ส่งเสริมให้สมาชิกในโรงเรียนและชุมชนคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
๖. โรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ในชุมชน
๗. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนให้เป็นผู้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

6. Eco-school ในประเทศไทย
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนขึ้น ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งสอดรับการดำเนินการขององค์การสหประชาชาติที่ได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2548 – 2555 ศตวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (United Nations Decade of Education for Sustainable Development : DESD)  โรงเรียนนำร่องในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Eco–School) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่ทั้งสิ้น จำนวน 41 แห่ง โดยดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาตามพันธกิจ 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ  ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  ด้านระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา
นอกจากนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ ดำเนินการงานสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านระบบโรงเรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ โครงการรุ่งอรุณ การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระยะที่ 1-6 โดยได้ดำเนินการกับโรงเรียนในทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนมากกว่า 1,000 โรงเรียน นักเรียนและบุคลากรครูรวมกว่า 50,000 คน มีผลผลิตด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ผลการศึกษาเชิงปฏิบัติจริงของนักเรียนเกี่ยวกับระดับการใช้พลังงานของกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางของกระบวนการเรียนรู้ด้านพลังงานได้ต่อไป ปัจจุบัน สถาบันได้ต่อยอดโครงการรุ่งอรุณ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ 16 โรงเรียนทั่วประเทศให้มีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ และมีเป้าหมายขยายผลไปยังโรงเรียนอีก 200 โรง
8 โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Eco school            สถาบันฯ ได้พัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนให้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นปัญหาภาวะโลกร้อนและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 7 ปี  โดยส่งเสริมให้นักเรียนในโรงเรียน 77 จังหวัดทั่วประเทศร่วมดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใน 4 แนวทางการดำเนินงาน คือ การเดินทางอย่างยั่งยืน การลดขยะ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของโรงเรียน และการดำเนินงานในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 8,600 ตัน ขณะที่ในโครงการลดโลกร้อน ด้วยวิถีพอเพียง สามารถสนับสนุนให้โรงเรียน 7 แห่งดำเนินกิจกรรมสิ่งแวดล้อม จนสามารถจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ “ลดโลกร้อน ด้วยวิธีพอเพียง” และมีโรงเรียนเครือข่ายอีก 14 แห่งดำเนินงานด้านการพิทักษ์ภูมิอากาศด้วยวิถีพอเพียง
7. Eco school ในต่างประเทศ
ในประเทศอังกฤษโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือ Eco school เป็นหลักสูตรนานาชาติของการศึกษาเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับโรงเรียน โดยมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อม (Foundation for Environmental Education : FEE) เป็นผู้ก่อตั้งและสนับสนุนโปรแกรมโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา  โดยจุดมุ่งหมายของ Eco school คือการสร้างความตระหนักของนักเรียนในการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการศึกษาในห้องเรียนและชุมชน
โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและกิจกรรมต่างๆ เช่น  น้ำเสีย ขยะพลังงาน  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ความหลากหลายทางชีวภาพ   คุณภาพชีวิต  แผนปฏิบัติการท้องถิ่น21  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น